การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดวิจารณญาณและการยอมรับนับถือตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

Main Article Content

เสาวรัตน์ คำอ่อน
พัฒนานุสรณ์ สถาพรวงศ์
สุมาลี ชูกำแพง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และแผนการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแผนการจัดเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ (3) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการยอมรับนับถือตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และการจัดเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ (4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการยอมรับนับถือตนเองของนักเรียน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 และ 2/3 โรงเรียนโพธิแสนวิทยา อำเภอกุสุมาลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ภาคเรียนที2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 2 ห้อง ห้องเรียนละ 28 คนและ 33 คน ตามลำดับ ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1)แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแผนการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 จำนวนรูปแบบละ 9 แผน รวมเวลาเรียนแบบละ 18 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.26 ถึง 0.61 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84 (3) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 25 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.45 ถึง 0.59 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.77 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR–20) เท่ากับ 0.77 (4) แบบวัดการยอมรับนับถือตนเอง เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 อันดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.44 ถึง 0.75 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α) เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Sample)และ F-test (One-way MANOVA) 


ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแผนการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.95/80.36 และ 83.66/81.06 ตามลำดับ


2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแผนการจัดการเรียนรู้แบบ ซินเนคติกส์ มีค่าเท่ากับ 0.5933 และ 0.6112 ตามลำดับ


3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ มีการคิดวิจารณญาณและการยอมรับนับถือตนเอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดวิจารณญาณและการยอมรับนับถือตนเอง หลังเรียนสูงกว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p 0.017)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
คำอ่อน เ. ., สถาพรวงศ์ พ. ., & ชูกำแพง ส. . (2024). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดวิจารณญาณและการยอมรับนับถือตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 5(3), 180–196. สืบค้น จาก https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/436
บท
Research Article

References

Academic and Educational Standards Office. (2008). Indicators and Core Learning Theme, Content Strands of Thai Language, According to Basic Education Curriculum B.E2551. Bangkok: Ladprao Publishing of Teachers’ Council.

Gordon, William J.J. (1972) The Metaphorical Way of Learning and Knowing Synaptic Education Press. Cambridge: Leaning.

Joyce, Bruce ; Weil, Marsha ; Calhoun, Emily. (2011). Models of Teaching. 8thed. Boston: Pearson Education, Inc.

Kritsana Sinlapanoraset. (2010). Developing Creative Writing Ability of Prathomsueksa 6 Students Between Organization of Learning Activities Using Synnetics Model and Using Mind Mapping Model. Thesis for Master of Education Degree. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Lemlech, Johanna Kasin. (2004). Teaching in Elementary and Secondary Classrooms: Building A Learning Community. New Jersey: Pearson Education, Inc.

Ministry of Education. (2008). The Core Curriculum of Basic Education, B.E.2551. Bangkok: The Agricultural Co-operation of Thailand Publishing.

Naruemon Ngoyphala. (2011). Comparisons of Reading for Main Idea, Analytical Thinking, and Learning Responsibility of Prathomsueksa 6 Students between Organization of KWL-Plus and Problem-Based Learning . Thesis for Master of Education Degree. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Nirat Jantharajit. (2010). Learning For Thinking. Maha Sarakham: Maha Sarakham University Publishing.

Puangrat Boonyanurak. (2001). “ Is The Nursing Management Important?” Journal of The Faculty of Nursing. Burapa University (9) 2 ; (May – August): 49 – 59.

Santrock, John W. (2008). Educational Psychology. 3rd New York: McGraw-Hill.

Somjit Srisuk. (2007). The Development of Creative Writing Ability of Prathosuksa 6 Level By Using Synectics Learning Approach. Thesis for M.Ed. Nakhon Ratchasima: Nakhorn Ratchasima Rajabhat University.

Sumran Boontham. (2007). Comparisons of Outcomes of Creative Writing Learning in Thai Language Learning Strand of Prathomsueksa 5 Students Between Organization of Problem-Based Learning and 4 MAT Learning. Thesis for Master of Education DegreeMahasarakham: Mahasarakham University.

The National Basic Educational Testing Office. (2010) The Report of Analysis on the Results of Testing and Quality Evaluation, Academic Year of 2553. Bangkok: The National Basic Educational Testing Office.

Tissana Khammanee. (2005). Teaching Strategies: Knowledge for Effective Learning Process. 4th edition. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing.

Tissana Khammanee. (2010).. Teaching Strategies: Knowledge for Effective Learning Process. 13th edition, Bangkok: Dhan Suttha Publishing.