การส่งบทความ
เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
-
วัตถุประสงค์ของวารสาร
วาสารเปิดรับผลงานวิชาการที่จะลงตีพิมพ์ในวารสาร เป็นผลงานวิชาการทางการศึกษา การบริหารและนิเทศทางการศึกษา และผลการค้นคว้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในรูปแบบบทความวิจัย บทความทางวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ มีเนื้อหาสาระน่าสนใจ เป็นประโยชน์ เป็นการสร้างความรู้ใหม่ และเป็นบทความที่ยังไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารหรือเอกสารอื่นๆ มาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาพิมพ์เผยแพร์ในวารสารใด ๆ
บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
- มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
-
คำชี้แจงสำหรับผู้สนใจส่งบทความเผยแพร่กับวารสาร
1. วารสารดำเนินการด้วยความเป็นกลาง โดยไม่มี priority ให้กับบุคคลหรือหน่วยงานใดเป็นพิเศษ
2. วารสารรับเฉพาะบทความที่ขอบเขตเนื้อหาเป็นไปตามที่วารสารกำหนด
3. ระยะเวลาการออกใบตอบรับการตีพิมพ์เผยแพร่ โดยประมาณ 3-6 เดือน ซึ่งแต่ละบทความจะไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของบทความและการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ
4. การเตรียมต้นฉบับ ให้มีรูปแบบดังนี้
4.1 ภาษา พิมพ์ต้นฉบับเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน คำศัพท์ภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวพิมพ์เล็ก ทั้งหมดยกเว้นชื่อเฉพาะ
4.2 รูปแบบต้นฉบับ ใช้กระดาษ A4 พิมพ์ห่างจากขอบบนกระดาษด้านละ 3.5 เชนติเมตร ขอบล่าง ด้านซ้ายและขวา ด้านละ 2.5 เซนติเมตร จัดรูปแบบ 1 คอลัมน์
4.3 ชนิดและขนาดตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ซึ่งขนาดตัวอักษร มีดังนี้
ชื่อเรื่อง ใช้ตัวอักษรขนาด 18 pt ตัวหนา
ชื่อ-สกุลผู้แต่ง ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt ตัวหนา
หัวข้อหลัก ใช้ตัวอักษรขนาด 18 pt ตัวหนา
หัวข้อรอง ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt ตัวหนา
เนื้อเรื่องในหัวข้อหลักและหัวข้อรอง ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt ตัวปกติ
เชิงอรรถหน้าแรกที่เป็นชื่อ-สกุล ตำแหน่งทางวิชาการ และหน่วยงานต้น สังกัดของผู้แต่ง ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt ตัวปกติ
4.4 จำนวนหน้า (บทความวิจัย/บทความวิชาการ) ความยาวของบทความ 15-20 หน้า รวมตาราง ภาพประกอบ รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง
- บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
-
5. เตรียมเนื้อหาของบทความวิจัย ประกอบด้วยหัวข้อและการจัดเรียงลำดับ ดังนี้
5.1 ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
5.2 ชื่อ-สกุลผู้แต่งทุกคนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
5.3 บทคัดย่อภาษาไทย ความยาวไม่เกิน 250 คำ
5.4 คำสำคัญภาษาไทย 3-5 คำ
5.5. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 250 คำ
5.6 คำสำคัญภาษาอังกฤษ (Keyword) 3-5 คำ
5.7 บทนำ
5.8 วัตถุประสงค์การวิจัย
5.9 สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
5.10. วิธีการวิจัย ระบุรูปแบบการวิจัย ประชากรและตัวอย่าง ตัวแปรในการวิจัย เครื่องมือ
และการหาคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
5.11 ผลการวิจัย นำเสนอข้อมูลตามวัตถุประสงค์การวิจัย APA 7th edition
5.12 อภิปรายผล อธิบายว่าผลการวิจัยที่ได้เป็นอย่างไร มีเหตุผลสนับสนุนซึ่งกันและกันในการกล่าวอ้างถึงผลการวิจัยที่ได้ศึกษา เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น และผลที่ได้มีความสอดคล้องหรือขัดแย้งกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และผลงานวิจัยของนักวิชาการคนใดบ้าง)
5.13 ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และข้อเสนอสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
5.14 เอกสารอ้างอิง ตามรูปแบบการอ้างอิง APA (American Psychological Association) 7th edition -
6. การเตรียมเนื้อหาของบทความวิชาการ ประกอบด้วยหัวข้อและจัดเรียงลำดับของเนื้อหาบทความ ดังนี้
6.1 ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
6.2 ชื่อ-สกุลผู้แต่งทุกคนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
6.3 บทคัดย่อภาษาไทย ความยาวไม่เกิน 250 คำ โดยระบุรายละเอียดของเนื้อหาของบทความ
โดยย่อให้ได้ใจความสำคัญ
6.4 คำสำคัญภาษาไทย 3-5 คำ
6.5. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 250 คำ โดยระบุรายละเอียดของเนื้อหาของบทความโดยย่อให้ได้ใจความสำคัญที่มีความสอดคล้องกับบทคัดย่อภาษาไทย
6.6 คำสำคัญภาษาอังกฤษ (Keyword) 3-5 คำ
6.7 บทนำ เกริ่นนำเนื้อหา ก่อนเริ่มเข้าสู่เนื้อหาในบทความ
6.8 เนื้อหา เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า สังเคราะห์ของผู้เขียน มีความน่าสนใจ ทันสมัย เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ
6.9 บทสรุป สรุปเนื้อของบทความทั้งหมดให้ได้ใจความสำคัญ กระชับ และตรงประเด็น
6.10 เอกสารอ้างอิง ตามรูปแบบการอ้างอิง APA 7th edition (American Psychological Association)
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม