จริยธรรมของการตีพิมพ์

บทบาทหน้าที่

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์
1. ผู้นิพนธ์ต้องมีจริยธรรมทางวิชาการในการนำเสนอผลงานอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ มีความน่าเชื่อถือ ยอมรับได้ และต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่นที่ปราศจากการอ้างอิง หรือนำมาเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต ผู้นิพนธ์ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูล อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานสากล
2. ผู้นิพนธ์ต้องมีจริยธรรมในการวิจัยในมนุษย์ โดยยึดหลัก 3 ประการ ประกอบด้วย หลักความเคารพในบุคคล (respect for person) หลักคุณประโยชน์ ไม่ก่ออันตราย (beneficence) และหลักความยุติธรรม (justice)
3. ผู้นิพนธ์ต้องนำเสนอบทความแก่วารสาร โดยที่ไม่ขัดต่อความเท่าเทียมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ บทความที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม และบทความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือมีเนื้อหาที่บิดเบือนต่อสถาบันชาติ
4. ผู้นิพนธ์ต้องมีความรับผิดชอบต่อผลงานที่นำเสนอด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่มีอคติส่วนตนหรือ ความลำเอียงทางวิชาการที่อาจส่งผลให้มีการบิดเบือนข้อมูลและข้อค้นพบทางวิชาการ หรือส่งผลกระทบต่อความเท่าเทียมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์บุคคลที่ไม่สามารถปกป้องตัวเองได้อย่างเต็มที่ไม่สามารถทำความเข้าใจกับข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยที่ได้รับ และไม่สามารถตัดสินใจด้ด้วยตนเองโดยอิสระ
5. ผู้นิพนธ์ต้องเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น พร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลและขั้นตอนการ ดำเนินงาน ยอมรับฟังความคิดเห็นและเหตุผลทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไข ผลงานของตนให้ถูกต้อง
6. ผู้นิพนธ์ต้องยินยอมให้วารสารดำเนินปรับปรุงแก้ไขคุณภาพของบทความให้เป็นไปตามมาตรฐานทาง วิชาการก่อนตีพิมพ์เผยแพร่
7. ผู้นิพนธ์ต้องคำนึงถึงผลกระทบจากการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน มีความรับผิดชอบต่อสังคม มุ่งประโยชน์ ทางวิชาการในส่วนรวมกว่าประโยชน์ส่วนตน

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการต้องจัดหาต้นฉบับบทความโดยพิจารณาคุณภาพบทความเบื้องต้น รวมทั้งกลั่นกรอง เบื้องต้นถึงข้อความอันเป็นการใส่ร้ายดูหมิ่นอย่างร้ายแรงต่อสถาบันชาติ
2. บรรณาธิการต้องพิจารณาคุณภาพของบทความเบื้องต้นเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามด้วยใจเป็นกลาง และต้องไม่เปิดเผยข้อมูลผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความแก่ บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
3. บรรณาธิการต้องดำเนินการคัดสรร ติดต่อ ประสานงานกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินคุณภาพของ บทความตามหลักทางวิชาการ
4. หากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นหรือการละเมิดลิขสิทธิ์ ในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมินบทความดังกล่าวทันที และติดต่อผู้นิพนธ์เพื่อขอคำชี้แจงประกอบการพิจารณา “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น ๆ
5. บรรณาธิการต้องรับผิดชอบต่อการตีพิมพ์เผยแพร่บทความที่ปรากฏในวารสารสู่สาธารณะ โดยการทำความตกลงกับผู้เขียนเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของแต่ละฝ่าย รวมถึงความรับผิดชอบทางกฎหมาย กรณีมีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการ หรือการละเมิดลิขสิทธิ์
6. บรรณาธิการต้องพิจารณากลั่นกรองคุณภาพบทความที่ไม่ขัดต่อความเท่าเทียมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ บทความที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม และบทความที่ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือ มีเนื้อหาที่บิดเบือนต่อสถาบันชาติ เพื่อพิจารณาตอบรับก่อนตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมิน
1. เมื่อได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสารแล้ว ผู้ประเมินบทต้องตระหนักว่าตนเองอาจมีผลประโยชน์ ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้เข้าร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการ วารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
2. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความที่ส่ง มาให้พิจารณาแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
3. ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณากลั่นกรองคุณภาพบทความที่ไม่ขัดต่อความเท่าเทียมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ บทความที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม และบทความที่ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือมีเนื้อหาที่บิดเบือนต่อสถาบันชาติ เพื่อพิจารณาเห็นควรให้ยอมรับตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
4. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินคุณภาพของบทความบนรากฐานทางวิชาการโดยไม่ตกอยู่ภายใต้แนวคิดความไม่เป็นกลางทางการเมือง ไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
5. ในกรณีที่ผู้ประเมินทราบว่าบทความที่กำลังพิจารณานั้น มีส่วนใดของบทความเข้าข่ายซ้ำซ้อนกับผลงานผู้อื่น หรือมีการส่งบทความซ้ำเพื่อให้วารสารพิจารณา ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการของวารสารทราบโดยทันที