การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดวิจารณญาณและการยอมรับนับถือตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

Main Article Content

เสาวรัตน์ คำอ่อน
พัฒนานุสรณ์ สถาพรวงศ์
สุมาลี ชูกำแพง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และแผนการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแผนการจัดเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ (3) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการยอมรับนับถือตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และการจัดเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ (4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการยอมรับนับถือตนเองของนักเรียน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 และ 2/3 โรงเรียนโพธิแสนวิทยา อำเภอกุสุมาลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ภาคเรียนที2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 2 ห้อง ห้องเรียนละ 28 คนและ 33 คน ตามลำดับ ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1)แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแผนการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 จำนวนรูปแบบละ 9 แผน รวมเวลาเรียนแบบละ 18 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.26 ถึง 0.61 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84 (3) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 25 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.45 ถึง 0.59 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.77 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR–20) เท่ากับ 0.77 (4) แบบวัดการยอมรับนับถือตนเอง เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 อันดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.44 ถึง 0.75 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α) เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Sample)และ F-test (One-way MANOVA) 


ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแผนการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.95/80.36 และ 83.66/81.06 ตามลำดับ


2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแผนการจัดการเรียนรู้แบบ ซินเนคติกส์ มีค่าเท่ากับ 0.5933 และ 0.6112 ตามลำดับ


3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ มีการคิดวิจารณญาณและการยอมรับนับถือตนเอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดวิจารณญาณและการยอมรับนับถือตนเอง หลังเรียนสูงกว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p 0.017)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Academic and Educational Standards Office. (2008). Indicators and Core Learning Theme, Content Strands of Thai Language, According to Basic Education Curriculum B.E2551. Bangkok: Ladprao Publishing of Teachers’ Council.

Gordon, William J.J. (1972) The Metaphorical Way of Learning and Knowing Synaptic Education Press. Cambridge: Leaning.

Joyce, Bruce ; Weil, Marsha ; Calhoun, Emily. (2011). Models of Teaching. 8thed. Boston: Pearson Education, Inc.

Kritsana Sinlapanoraset. (2010). Developing Creative Writing Ability of Prathomsueksa 6 Students Between Organization of Learning Activities Using Synnetics Model and Using Mind Mapping Model. Thesis for Master of Education Degree. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Lemlech, Johanna Kasin. (2004). Teaching in Elementary and Secondary Classrooms: Building A Learning Community. New Jersey: Pearson Education, Inc.

Ministry of Education. (2008). The Core Curriculum of Basic Education, B.E.2551. Bangkok: The Agricultural Co-operation of Thailand Publishing.

Naruemon Ngoyphala. (2011). Comparisons of Reading for Main Idea, Analytical Thinking, and Learning Responsibility of Prathomsueksa 6 Students between Organization of KWL-Plus and Problem-Based Learning . Thesis for Master of Education Degree. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Nirat Jantharajit. (2010). Learning For Thinking. Maha Sarakham: Maha Sarakham University Publishing.

Puangrat Boonyanurak. (2001). “ Is The Nursing Management Important?” Journal of The Faculty of Nursing. Burapa University (9) 2 ; (May – August): 49 – 59.

Santrock, John W. (2008). Educational Psychology. 3rd New York: McGraw-Hill.

Somjit Srisuk. (2007). The Development of Creative Writing Ability of Prathosuksa 6 Level By Using Synectics Learning Approach. Thesis for M.Ed. Nakhon Ratchasima: Nakhorn Ratchasima Rajabhat University.

Sumran Boontham. (2007). Comparisons of Outcomes of Creative Writing Learning in Thai Language Learning Strand of Prathomsueksa 5 Students Between Organization of Problem-Based Learning and 4 MAT Learning. Thesis for Master of Education DegreeMahasarakham: Mahasarakham University.

The National Basic Educational Testing Office. (2010) The Report of Analysis on the Results of Testing and Quality Evaluation, Academic Year of 2553. Bangkok: The National Basic Educational Testing Office.

Tissana Khammanee. (2005). Teaching Strategies: Knowledge for Effective Learning Process. 4th edition. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing.

Tissana Khammanee. (2010).. Teaching Strategies: Knowledge for Effective Learning Process. 13th edition, Bangkok: Dhan Suttha Publishing.