การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3

Main Article Content

ปรัตถกรณ์ กองนาคู
ประสงค์ สายหงษ์

บทคัดย่อ

การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพ พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้า ฝ่ายวิชาการ จำนวน 100 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 พบว่า สภาพปัจจุบันโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

  2. แนวทางการบริหารงานวิชาการ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 มีแนวทางการบริหารงานวิชาการ โดยครูควรพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ หลักสูตร ตัวชี้วัด จัดให้มีระเบียบการวัดและประเมินหลักสูตรและการกำกับดูแล ส่งเสริม กำกับติดตามให้ครูได้อบรมสร้างเครือข่ายวิจัย และนำผลการวิจัยมาพัฒนากระบวนการเรียนการสอน มีการประชุมวางแผนจัดทำหลักสูตร และส่งเสริมให้ครูนำหลักสูตรไปใช้จริง มีการจัดระบบโครงสร้าง และสร้างความตระหนักในการประกันคุณภาพทางการศึกษา จัดสรรงบประมาณให้ครูในการผลิต จัดหา และพัฒนาสื่อ นวัตกรรมทางการเรียนรู้ รวมถึงการประเมินสื่อ กำหนดปฏิทินการนิเทศครูแบบกัลยาณมิตร และควรนำผลการนิเทศไปแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยผลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของการพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้ของแนวทางโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
กองนาคู ป. ., & สายหงษ์ ป. (2024). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการ สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 12(2), 46–56. สืบค้น จาก https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/186
บท
Research Article

References

กมลรัตน์ แก่นจันทร์. (2560). ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:กระทรงศึกษาธิการ.

กาญจนา ศรีลากัลย์. (2559). ศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรีชา กองจินดา. (2549). แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (2555). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2559. กาฬสินธุ์: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2550), แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อัตพร อุระงาม. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขา วิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.