สภาพ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถาน ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม

Main Article Content

บุญตรี แก้วอินธิ
ไพฑูรย์ พวงยอด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา (2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 319 คน ก􀄽ำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ70 และ20 ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น.93 และแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และ (2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านทักษะการมีวิสัยทัศน์และความฉลาดทางดิจิทัล 2) ด้านทักษะการเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 3) ด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรมดิจิทัล4) ด้านทักษะการมีส่วนร่วมและวัฒนธรรมดิจิทัล 5) ด้านทักษะการสื่อสารดิจิทัล และ 6) ด้านทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
แก้วอินธิ บ., & พวงยอด ไ. (2024). สภาพ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถาน ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 13(1), 42–51. สืบค้น จาก https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/101
บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากร. สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2562-2565.

กุลจิรา รักษนคร และสุรภัทรศักดิ์ คำสามารถ. (2563). การศึกษากรอบแนวคิดในการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21. บทความวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,5(3), 328-344.

ทิพวรรณ ล้วนปสิทธิ์สกุล. (2562). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการศึกษาของนโยบายไทยแลนด์. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีรวัฒน์ แสงสว่าง. (2561). สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ คุรุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุง. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปราโมทย์ วังสะอาด. (2558). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านไอซีทีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน. ปรชั ญาดษุ ฎีบณั ฑติ , คอมพิวเตอร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน. (2563). ความฉลาดทางดิจิทัล. ดร.สรานนท์ อินทนนท์: ผู้เรียบเรียง, วอล์ค ออน คลาวด์: ปทุมธานี. สืบค้นจาก, www.childmedia.net, cclickthailand.com/ สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2564.

วราพร ดำจับ. (2560). การสื่อสารยุคดิจิทัล. สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 3(1), กุมภาพันธ์-พฤษภาคม. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. (2562). รายงานผลการวิเคราะห์รายงานประจำปีของสถานศึกษาในสังกัด ปีการศึกษา 2562.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. (2563). คู่มือการปฏิบัติงานกลุ่มบริหารงานบุคคลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จังหวัดนครพนม.สืบค้นจาก http://sesaonkp.org/web/vision. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2562). คู่มือทักษะด้านดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐภายใต้แนวทางพัฒนาทักษะดิจิทัลฯเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล (ปรับปรุงครั้งที่ 1 มิถุนายน 2562). นนทบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร.1013.1/ว167.คู่มือแนวทางพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563 -2564. สืบค้นข้อมูลจาก https://www.ocsc.go.th/civilservice >.

สำนักงานเลขานุการกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. (2563). แผนยุทธศาสตร์กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ.2563-2565. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ; สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนันต์ วรธิติพงศ์. (2560). อนาคตภาพดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง และพร้อมภัค บึงบัว. (2562). ระบบพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ. สุทธิปริทัศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 13(107), 213-218.

อรรถพล ประภาสโนบล. (2559). วิพากษ์วัฒนธรรมยุคดิจิตอลผ่านปรัชญาการศึกษาของ เปาโล แฟร์. วารสารปณิธาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 12(1), 78-97.

Gloria Bastos (2015: 140). Digital Literacy of School Leaders: What Impacts in Schools?. Results of Two Studies from Portugal. [Online], January 2015, Available from Conference: European Conference on Information Literacy. University, Lisbon, Portugal.