การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องคลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวังกระแสวิทยาคม จังหวัดนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่องคลื่นกล ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องคลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ ระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ เรื่องคลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนวังกระแสวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 8 แผน รวม 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ วิชาฟิสิกส์ เรื่องคลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 76.18 / 74.86 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์วิชาฟิสิกส์ เรื่องคลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่ง กลุ่มสัมฤทธิ์ วิชาฟิสิกส์ เรื่องคลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. ( 2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จินตรา ญาณสมบัติ. (2551). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างนักเรียนที่เรียนรู้โดยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับโดยกระบวนการสืบเสาะ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เดือนฉาย พลเยี่ยม (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิกร โพธิ์กฎ. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD วิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มรินธร เพ็งสวัสดิ์. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องชีวิตสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD. การศึกษาค้นคว้าอสิระ กศ.ม. สาขาหลักสูตรและการสอน: มหาวิทยาลยัมหาสารคาม.
ศิริรักษ์ พันธ์บุรี. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการกิจกรรมเรียนรู้แบบ STAD กับการจัดการกิจกรรมเรียนรู้แบบ BBL. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้: มหาวิทยาลัยนครพนม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2559 ). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.
สนิฎา พระเสนา. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD และกรณีตัวอย่าง. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้: มหาวิทยาลัยนครพนม.
สมเดช บุญประจักษ์. (2548). สภาพการจัดการเรียนการสอนของสำนักงานโครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ปีการศึกษา 2548. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
Johnson, D.W., Johnson R.T. & Holubec, E.J. (1987). Cooperative in the classroom. Minnesota: Interaction Book.