การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7

Main Article Content

บุญอารีย์ จำเริญเนาว์
สุรศักดิ์ คำคง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานคราราชสีมา เขต 7 3) พัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา, หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ, ครูผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจัดการความรู้สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 7 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการดำเนินการวิจัยจำแนกออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 7 ระยะที่ 2 สภาพศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานคราราชสีมา เขต 7 ระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 7


ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) การสร้างความรู้ 2) การแลกเปลี่ยนความรู้ 3) การจัดเก็บความรู้ 4) การประยุกต์ใช้ความรู้


2. สภาพปัจจุบันการจัดการความรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกนครราชสีมาเขต 7 โดยรวมการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานคราชสีมา เขต 7 โดยรวมอยู่ในระดับมาก


3. การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 7 ซึ่งสรุปผลการวิเคราะห์การสัมภาษณ์และการดูร่องรอยการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ของโรงเรียนสามารถวิเคราะห์การสัมภาษณ์และการศึกษาดูร่องรอยการจัดการความรู้ เป็นองค์ประกอบการจัดการความรู้ ซึ่งประกอบด้วย 1) ทำความเข้าใจกับผู้บริหารและคณะครู 2) สร้างทีมสร้างแรงจูงใจและจิตสำนึกในการทำงานร่วมกัน 3) ศึกษาบริบทโรงเรียนและสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 4) กำหนดทิศทางเป้าหมายในการพัฒนาการจัดการความรู้ 5) สร้างวิสัยทัศน์การจัดการความรู้ 6) จัดทำแผนและกิจกรรมพัฒนาความรู้และศึกษาดูงาน 7) สรุปทบทวนแผนและกิจกรรมพัฒนาการจัดการความรู้ 8) สร้างตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงาน 9) ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ที่ร่วมกำหนด 10) ปรับปรุงการดำเนินงานทุกระยะทั้งบุคคลและโรงเรียน 11) ประเมินกระบวนการจัดการความรู้ในการพัฒนาการจัดการความรู้ 12) ยกระดับองค์ความรู้ในประเด็นที่น่าสนใจประกอบด้วย การสร้างความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ การจัดเก็บความรู้ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 13) การประเมินกระบวนการการจัดการความรู้ 14) ร่วมสรุปและสะท้อนทั้งระดับชั้นเรียนและระดับโรงเรียน 15) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับโรงเรียน โดยจัดนิทรรศการการแสดงผลงาน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กีรติ ยศยิ่งยง. (2549). การจัดการความรู้ในองค์การและกรณีศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้.

จัตุพร ปูเรือน. (2554). การจัดการความรู้ในโรงเรียนเวียงแหวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาลัยเชียงใหม่.

ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฎ. วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประพันธ์ ผาสุกยืด. (2550). การจัดการความรู้ ฉบับมือใหม่หัดขับ. กรุงเทพฯ: ใยไหม.

บูรชัย ศิริมหาสาคร และพัดชา กวางทอง. (2552). สรรพวิธีจัดการความรู้สู่องค์กรอัจฉริยะ. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2548). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่. 3 กรุงเทพฯ: จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรช.

วิจารณ์ พานิช. (2547). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) 2547 ข.

วิจารณ์ พานิช. (2552). สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. จาก http://www.kmi.or.th/kmiarticles/prof-vicharn-panich/35-0008-triangle-k.html

วันทนา เมืองจันทร์ และคณะ. (2548). การจัดการความรู้ในสถานศึกษา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ทรงศักดิ์ สายเชื้อ. (2543). ทิศทางการพัฒนาของไทย: เส้นทางสู่ระบบเศรษฐกิจสังคมความรู้กระทรวงการต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สมาคมสโมสรสราญรมย์ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยกระทรวงการต่างประเทศ.

ณพศิษฎ์ จักรพิทักษ์. (2552). ทฤษฎีการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรพิมล หรรษาภิรมย์โชค. (2550). การศึกษาสภาพการจัดการความรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตภูมิภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธนา แซ่เตียว. (2548). การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เสนาะ กลิ่นงาม. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยราชภัฎ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีนิพนธ์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา. (2548). การจัดการความรู้ในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาผู้บริหาร.

ธีระวัฒน์ เยี่ยมแสง. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 1. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำนักวิทยบริการ.

นวลลออ แสงสุข. (2550). การศึกษาการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สำนักหอสมุดกลาง.

Nonaka, I., &, Takeuchi,H. (1995). The knowledge – creating company: How Japanese Companies create the dynamicsof innovation. New York: Oxford University Press.

Butcher, T.G., et al. (2001). Specifications, tolerances, and other requirements for Weighing and Measuring Devices: As Adopted by the 86 th national Conferenceon weights and Measures. washington: US Government Printing office.