การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนร่วมสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการเรียนร่วมสำหรับสถานศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์การจัดการเรียนร่วม สำหรับสถานศึกษา และ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนร่วม สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 80 คน โดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบและตัวชี้วัด แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการจัดการเรียนร่วม สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการเรียนร่วม สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 มีองค์ประกอบ 6 ด้าน และตัวชี้วัด 16 ตัวชี้วัด 2. สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนร่วม สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน ส่วนสภาพพึงประสงค์การจัดการเรียนร่วม สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 3. ผลการประเมินแนวทางการจัดการเรียนร่วม สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ทั้ง 6 ด้าน 48 แนวทาง พบว่าโดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
Downloads
Article Details
References
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2543). การเรียนร่วมแนวคิดใหม่ในการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548). รูปแบบในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กและเยาวชนพิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว.
บุญยิ่ง สายเมฆ. (2555). รูปแบบการดำเนินการจัดการเรียนร่วมที่มีประสิทธิผลสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นบานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
เบญจา ชลชารินทร์. (2546). คู่มือการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีต.กรุงเทพฯ: เพทายการพิมพ์.
รจเรข พยอมแย้ม. (2553). การบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิการในโรงเรียนปกติ. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
รดา ธรรมพูนพิสัย. (2556). สภาพปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นราธิวาส. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา, สงขลา.
โสภาลักษณ์ ธารไชย. (2554). การจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กนักเรียนพิการ กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2554). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว.