การพัฒนาแนวทางการบริหารงานแนะแนว โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20

Main Article Content

เกศรา น้องคนึง
ดนิตา ดวงวิไล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการบริหารงาน แนะแนวโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20 และ 3) พัฒนาแนวทางการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร และครูแนะแนวโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จำนวน 134 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินองค์ประกอบ ตัวชี้วัด และแนวทางการบริหารงานแนะแนว จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการบริหารงานแนะแนว โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 มีองค์ประกอบ 5 ด้าน และตัวชี้วัด 26 ตัวชี้วัด 2) สภาพปัจจุบันการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ส่วนสภาพพึงประสงค์การบริหารงานแนะแนว โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต20 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 3) ผลการประเมินแนวทางการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20 ทั้ง 5 ด้าน 61 แนวทาง พบว่าโดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). คู่มือการบริหารจัดการแนะแนว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

เชาวนา อมรส่งเจริญ. (2553). การบริหารงานแนะแนวของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, กรุงเทพมหานคร.

ดวงจิตร อุทาน. (28 มีนาคม 2555). สภาพและปัญหาของการดำเนินงานแนะแนวในปัจจุบัน เอกสารชุดฝึกอบรมแนะแนว โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เครื่องข่ายทั่วประเทศ. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2559. จาก https://krudoungjit.wordpress.com/2012/03/28/

ธัญญะ เนียมแตง. (2553). การพัฒนางานแนะแนวของโรงเรียนบ้านปงของ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3 จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.

นฤมล จันทรนิยม. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานแนะแนวของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานแนะแนวของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.

พนม ลิ้มอารีย์. (2533). การแนะแนวเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเอสพริ้นติ้งเฮาส์.

ภาดี ขุนนนท์. (2553). การศึกษาแนวทางการบริหารงานแนะแนวโดยสร้างเครือข่าของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.

มาลิณี จุโฑปะมา. (2552). จิตวิทยาการแนะแนว. บุรีรัมย์: เรวัตการพิมพ์.

รังสรรค์ โฉมยา. (2553). เอกสารประกอบการสอนวิชาการแนะแนวและการให้คำปรึกษาในโรงเรียน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: โรงพิมพ์ปราณีเจริญปล็อกและการพิมพ์กรุงเทพฯ.

เศกศัย อาศัยราช. (2548). การบริหารงานแนะแนวของโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยศึกษาเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, เพชรบูรณ์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). คู่มือแนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนวระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.