การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1

Main Article Content

ดวงดาว แช่มชื่น
รังสรรค์ โฉมยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์โรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา 3)พัฒนาแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูอนามัยโรงเรียน จำนวน306 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัด แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง


ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบและตัวชี้วัดโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษามี 5 องค์ประกอบ 14 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านผู้เรียนเป็นสุข มี 6 ตัวชี้วัด 2) ด้านโรงเรียนเป็นสุข มี 3 ตัวชี้วัด 3) ด้านสภาพแวดล้อมเป็นสุข มี 1 ตัวชี้วัด 4) ด้านครอบครัวเป็นสุข มี 3 ตัวชี้วัด และ 5) ด้านชุมชนเป็นสุข มี 1 ตัวชี้วัด 2. สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.68) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้เรียนเป็นสุข (x̄ = 3.86) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด มี 2 ด้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ ด้านสภาพแวดล้อมเป็นสุขและด้านครอบครัวเป็นสุข (x̄ = 3.62) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (x̄ = 4.68) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผู้เรียนเป็นสุข (x̄ = 4.76) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดมี 2 ด้านค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ ด้านสภาพแวดล้อมเป็นสุขและครอบครัวเป็นสุข (x̄ = 4.63) 3. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ด้านผู้เรียนเป็นสุข ประกอบด้วย 7 แนวทาง ด้านโรงเรียนเป็นสุข ประกอบด้วย 6 แนวทาง ด้านสภาพแวดล้อมเป็นสุข ประกอบด้วย 6 แนวทาง ด้านครอบครัวเป็นสุข ประกอบด้วย 6 แนวทาง และด้านชุมชนเป็นสุข ประกอบด้วย 5 แนวทาง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมอนามัย. (2553). องค์ประกอบของสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2559 จาก http://www.Advisor.anamai.moph.go.th/262/26201.html.

กัมพล เจริญรักษ์. (2558). โรงเรียนสุขภาวะตอบโจทย์ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2559, http://www.kroobannok.com/news_file/p49412811116.pdf).

คณาจารย์ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2553). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

จรุญ จับบัง. (2555). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปร.ด.ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ, สถาบัน. (2556). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET). เอกสารรายงานผลการทดสอบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41.

ณภิญรัตน์ ทัพขวา. (2557). การมีส่วนร่วมของโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปราณี อินทรักษา. (2555). การศึกษาการดำเนินการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต กศ.ม.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรัชญาภรณ์ โปทา. (2559). โรงเรียนวิถีชุมชนท้องถิ่นกับการเสริมสร้างสุขภาวะเพื่อศึกษากระบวนการส่งเสริมสุขภาวะ โรงเรียนวิถีชุมชนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ ศศ.บ.: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557.

ประวิต เอราวรรณ์ และนุชวนา เหลืองอังกูร. (2544). การสร้างแบบประเมินทักษะชีวิตและผลการส่งเสริมทักษะชีวิตโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

ประวิต เอราวรรณ์. (2547). การสังเคราะห์โครงการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารจัดการและการจัดการกิจกรรมการเรียนด้านสุขภาวะในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว.(258). แนวทางการสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2559 จาก http://www.familynetwork.or.th/node/15741

มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา, คู่มือการประเมินตนเองโรงเรียนสุขภาวะ (2554), (http://www.ires.or.th/wp ).

รมณภัทร กตตน์วงศกร. (2557). ผลการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ) สำนักงานเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศศ.บ.: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วราภรณ์ บุญเชียง. (2556). อนามัยโรงเรียน. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สุชาติ โสมประยูร และ เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2542). การสอนสุขศึกษา. กรุงเทพ: สุขภาพรวมใจ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559). กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2556). หลักการสอนสุขศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.

กัมพล เจริญรักษ์. (2558). โรงเรียนสุขภาวะตอบโจทย์ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2559, http://www.kroobannok.com/news_file/p49412811116.pdf).