การพัฒนาแนวทางพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานสำหรับสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานสำหรับสถานศึกษา และ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะตามความมุ่งหมายของการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 457 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัด แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง
ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนสำหรับสถานศึกษา มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 2) ด้านการสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย มีความท้าทายต่อการเรียนรู้ 3) ด้านการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความใฝ่เรียนรู้ 4) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 5) ด้านการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้มี 4 ตัวชี้วัด ด้านการสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย มีความท้าทายต่อการเรียนรู้มี 3 ตัวชี้วัด ด้านการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความใฝ่เรียนรู้มี 3 ตัวชี้วัด ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญมี 4 ตัวชี้วัด และด้านการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองมี 5 ตัวชี้วัด 2. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. แนวพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 ประกอบด้วย 1) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มี 4 แนวทาง 2) ด้านการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความใฝ่เรียนรู้ มี 3 แนวทาง 3) ด้านการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองมี 5 แนวทาง 4) แนวทางพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ มี 5 แนวทาง 5) ด้านการสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย มีความท้าทายต่อการเรียนรู้ มี 4 แนวทาง
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางพัฒนาการวัดและประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
โกวิท ประวาลพฤกษ์. (2548). Brain-Based Learning การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำ งานของสมองและสร้างพหุปัญญา (MI) ด้วยโครงงาน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาวิชาการ (พว).
คณาจารย์ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2553). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
จารุณี ซามาตย์ และคณะ. (2551). การพัฒนาแนวคิดแนวปฏิบัติของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ทางสมองของผู้เรียน โดยใช้ BrainBased learning. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จิณวิภา ศรีพันธ์ชาติ. (2553). การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL)โรงเรียนพิกุลแก้วศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นริศรา เสือคล้าย. (2550). การวิจัยและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถทางการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบันฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจรัตน์ คุริรัง. (2555). การพัฒนาบุคลากรในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน BBL โรงเรียนเทศบาลวัดเวฬุวัน อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด.การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปทิตญา ธีรวัชรกร. (2557). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน ระดับปฐมวัยโรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
มาลิสา กล้าขยัน. (2556). การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2549). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานการพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. (2558). ข้อมูลสารสนเทศ ปีการศึกษา 2558.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). การศึกษาผลการติดตามการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุภรณ์ สภาพงศ์. (2545). “การอ่านจับใจความ,” วารสารวิชาการ. 5(5): 16 กรกฎาคม.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: ภาพพิมพ์.