การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการนำตนเองในการเรียนรู้เรื่องพันธุกรรม

Main Article Content

จินตนา โพธิจักร
รัฐสาน์ เลาหสุรโยธิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเว็บ ตามหลักการนำตนเองในการเรียนรู้เรื่องพันธุกรรม สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ ตามหลักการนำตนเองในการเรียนรู้ เรื่องพันธุกรรม กับการเรียนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบทักษะการนำตนเองในการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่าง นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บและนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 70 คน ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนหนองพอกวิทยาลัย ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนบนเว็บ ตามหลักการนำตนเองในการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินทักษะการนำตนในการเรียนรู้ จำนวน 25 ข้อ สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test (Independent Samples)


ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนบนเว็บที่พัฒนาขึ้น ตามหลักการนำตนเองในการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมทักษะในการเรียนรู้ ที่มีผลต่อการเรียน เรื่องพันธุกรรม สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.29/81.71 2. นักเรียนที่ศึกษาบทเรียนบนเว็บ ตามหลักการนำตนเอง ในการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ กับนักเรียนที่เรียนแบบปกติ มีทักษะการนำตนเองในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กนกวรรณ ภิญโญศรี (2552). การเปรียบเทียบการเรียนรู้วิชากิจกรรมเข้าจังหวะ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุข ศึกษาและพละศึกษา ระหว่างการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนเครือข่ายกับการเรียนแบบปกติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความคิดสร้างสรรค์ทางกิจกรรมเข้าจังหวะและเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม..

ญาณิน สุดสวนสี (2553). ผลการเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บกับการเรียนแบบปกติที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษด้านการอ่านอ่านเพื่อการสื่อสารและวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

ไตรภพ จันทร์ศรี (2553). ผลการเรียนโดยใช้บทเรียนบนเว็บที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นัดดา อังสุโวทัย (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบการนำตนเองของนักเรียนในระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประมวล ศิริผันแก้ว. สสวท. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2546.

มิสขนิษฐา สินฐวิชัย. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องแรงโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ 5E. วิจัยในชั้นเรียน/วิจัยเชิงปฏิบัติการ. โรงเรียนอัสสัมชันแผนกประถม เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. http://swis.acp.ac.th/html_edu/acp/temp_research/103.pdf

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (2558). ผลคะแนน Admission 2558. เว็บไซต์ http://admission58.wordpress.com.

สยาม นามสน (2557). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเว็บกับการเรียนแบบปกติ เรื่องการสร้างเว็บเพจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ภาควิชเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำลี รักสุทธี (2544). เทคนิคการเรียนการสอนและการเขียนแผนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

แสงเดือน เจริญฉิม (2555). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรเดช พรมมา (2535). การเปรียบเทียบด้วยบทเรียนเว็บบล็อกกับการเรียนแบบปกติ เรื่อง การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ และความคงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีระดับการนำตนเองในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.