ตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับการปฏิบัติการบริหารงานและระดับคุณภาพการบริหารงานตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 53 เขต ในประเทศไทยซึ่งเลือกโดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง 1 ขั้นตอน คือเลือกกลุ่มตัวอย่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแบบสุ่มโดยใช้ตารางเลขสุ่ม ตัวแปรต้นได้แก่ 1. ระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2. ระดับการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3. ทักษะความคิดรวบยอดของผู้อำ นวยการสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 4. ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 5. เจตคติในการบริการของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 6. เจตคติที่มีต่อวิชาชีพทางการศึกษาของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 7. ความรู้ความสามารถของบุคลากรในสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาได้แก่ 1)ระดับการศึกษาของบุคลากร 2)เกรดเฉลี่ยการศึกษา 3)การฝึกอบรมเพื่อพัฒนางานในหน้าที่ภายในระยะ 5 ปี 4)ประสบการณ์การทำงานของบุคลากร 8.วัฒนธรรมองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาได้แก่ 1)วัฒนธรรมองค์การแบบครอบครัว 2)วัฒนธรรมองค์การแบบการเปลี่ยนแปลงพัฒนา 3)วัฒนธรรมองค์การแบบราชการ 4)วัฒนธรรมองค์การแบบการตลาด ตัวแปรตามคือระดับการปฏิบัติการบริหารงานตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และระดับคุณภาพการบริหารงานตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบทดสอบ และแบบวัดเจตคติ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณค่าเฉลี่ยค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรผัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามีการปฏิบัติการบริหารงานตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอยู่ในระดับมากและมีระดับการปฏิบัติการบริหารงานตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแตกต่างกันน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามีคุณภาพการบริหางานตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอยู่ในระดับดีและมีระดับคุณภาพการบริหารงานตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแตกต่างกันน้อย
2. ตัวแปรต้นสองตัวแปร คือ ระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (β = 0.439) และเจตคติที่มีต่อวิชาชีพทางการศึกษาของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (β = 0.313)ส่งผลต่อระดับปฏิบัติการบริหารงานตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ.05 อธิบายความแปรปรวนต่อระดับปฏิบัติการบริหารงานตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาได้ร้อยละ 61.30 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (β = 0.469) และเจตคติที่มีต่อวิชาชีพทางการศึกษาของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (β = 0.345) ส่งผลต่อระดับคุณภาพการบริหารงานตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 อธิบายความแปรปรวนต่อระดับคุณภาพการบริหารงานตามมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาได้ร้อยละ 58.40 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Downloads
Article Details
References
Bettencourt, L.A., Gwinner, K.P. and Meater, M.I. (2001). A Comparison of Personality, and Knowledge Predicators of Service-Oriented Organizational Citizenship Behaviors. (Online) Retrieved June 15, 2011, from: http www.ncbi.nlm.nih.gov//pubmed//11302230.
Bloom, Benjamin S. (1980). The State of the Research on Selected Alterable Variable in Education. MESA Seminar. Department of Education: University of Chicago.
Chayatis Kanha. (2007). Factors Affecting Effectiveness of the Office of Education Service Ares Under the Office of Basic Education Commission. Dissertation, Ed.D. Educational Administration) Chonburi: Graduate School, Burapha University.
Yanisa Boonchit. (2009). An Analysis of Factors Affecting Organizational Effectiveness of Educational Service Ares Offices. Dissertation, Ed.D. (Educational Administration). Bangkok: Graduate School, Chulalongkorn University.
Pratin Vissesuvun. (2002). Factors on Educational Management Related to Effectiveness in Provision of Education of General Education Private Schools in Educational Region 1. Master Thesis, M.Ed. (Educational Administration). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.
Pim-on Sod-ium. (2004). Factors Influencing Academic Administrative Effectiveness of Graduate Programs in Rajabhat Institutes. Dissertation, Ed.D. (Educational Administration). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.
Sirikanjana Kraibamrung. (2010). Variables that affect to school based management performance levels of basic education. Doctor of Education thesis (Educational administration) Nakhon Ratchasima: Faculty of Education Vongchavalitkul University.
Somsak Chansungnoen. (2010). Variables that affect to the organization of school learning.Doctor of Education thesis (Educational administration) Nakhon Ratchasima: Faculty of Education Vongchavalitkul University.
Office of the Education Reform. (2002). The Administration of Educational Service Area to Improve the Quality of Education. Bangkok: Phappim partnership.
Office of the Basic Education Commission. (2007). Monitoring and Evaluation Report on the Administration and Management of Basic Education Service Area Office: Fiscal Year 2007. Bangkok: Kurusapa Ladprap Printing Press.
Office of the Education Council. (2007). The State of Thai Education: Year 2006/2007 Solving and Reforming Education Using Holistic System. Bangkok: V.T.C. communication printing press.
Samreng Boonruangratana. (1997). Multivariate analysis techniques. 2nd printed. Bangkok: Ton-ao grammy. (1996). Research and Development program. Srinakharinwirot University Prasarnmit.
Wiranpachara Wongwatkasem. (2012). Analysis of the leadership of school administrators. Doctor of Education thesis (Educational administration) Nakhon Ratchasima: Faculty of Education Vongchavalitkul University.