รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนในประเทศไทย และเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนวิธีการวิจัยมี 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร กรอบแนวคิด 7s ของ Mc Kinsey แผนการศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2549 มาตรฐานการประเมินภายนอกของ สมศ. 2) สัมภาษณ์ผู้บริหารที่ได้เลือกแบบเจาะจง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ การบริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีน จำนวน 8 คน เพื่อพัฒนารูปแบบตามสมมุติฐานที่กำหนดไว้ 3) การยืนยันรูปแบบ โดยการจัดประชุมสนทนากลุ่มอย่างเข้มข้น เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของรูปแบบตามสมมุติฐาน และปรับปรุงรูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 4) นำรูปแบบที่ได้รับการตรวจสอบยืนยันความถูกต้อง สามารถนำไปปฏิบัติได้จากผู้เชี่ยวชาญ ในขั้นตอนที่ 3 ไปทดลองปฏิบัติการบริหารจริงกับโรงเรียนฮั้วเคี้ยววิทยาลัย โรงเรียนสิ่นหมินและโรงเรียนบุญญวิทยาคาร ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก
ผลการทดลองพบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม มีประโยชน์ และมีความเป็นไปได้สามารถนำไปสู่คุณภาพโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนได้ โดยทั้ง 3 โรงเรียน มีความเห็นว่ารูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนมีความเหมาะสม มีค่า x̅ = 4.60 ประโยชน์ีค่า x̅ = 4.57 ความเป็นไปได้มีค่า x̅ = 4.48 และเมื่อพิจารณาตามรายด้านพบว่า1) ด้านความเหมาะสม กลยุทธ์ของรูปแบบการบริหารของผู้บริหาร บริหารโดยหลักธรรมาภิบาลกระจายอำนาจไปสู่ระดับปฏิบัติงาน มีทักษะในการจูงใจให้บุคลากรทุ่มเททำงาน มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ทักษะที่จำ เป็นในการบริหารของผู้บริหาร ผู้บริหารต้องมีความรู้ความเข้าใจนโยบายของโรงเรียน มีทักษะในการบริหารงานวิชาการ งานบุคคล และกลยุทธ์ในการจัดโครงสร้างสถานศึกษา มีการกระจายอำ นาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ การตัดสินใจ แก่กรรมการมูลนิธิฯ ผู้บริหารและบุคลากร มีคู่มือการปฏิบัติงานแสดงการมอบอำนาจหน้าที่ สายบังคับบัญชา มีความเหมาะสมมากตามลำ ดับ 2) ด้านความมีประโยชน์กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษา มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ แปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติและจัดครูลงตามโครงสร้างการบริหาร มีประโยชน์มากที่สุด รองลงมาได้แก่กลยุทธ์ในการจัดโครงสร้างสถานศึกษามีการจัดทำแผนภูมิโครงสร้างการบริหาร จัดกลุ่มงานสายบังคับบัญชาที่ชัดเจน มีคู่มือครูแสดงการมอบหมายอำนาจหน้าที่ และระบบที่ใช้ในการบริหารโรงเรียน มีการจัดโครงสร้างการบริหารที่เป็นระบบ มีระบบประกันคุณภาพภายในภายนอกมีประโยชน์มากตามลำ ดับ 3) ด้านความเป็นไปได้ กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษา มีการควบคุมกลยุทธ์ มีความเป็นไปได้มากที่สุด รองลงมาได้แก่การเลือกบุคลากรร่วมปฏิบัติงานในสถานศึกษา บุคลากรให้ความร่วมมือในการทำงาน มีความสามัคคี มีมนุษย์สัมพันธ์ เสียสละ อดทน มีวินัย และกลยุทธ์ในการจัดโครงสร้างสถานศึกษา โครงสร้างการบริหารมีระบบการทำงานที่มุ่งเน้นให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการบริหารมีความเป็นไปได้มากตามลำดับ สรุปได้ว่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีน ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เป็นรูปแบบในการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนได้5) ปรับปรุงรูปแบบจากข้อมูลที่ได้จากการทดลองในขั้นที่ 4 เป็นครั้งสุดท้ายนำมาเขียนรายงานผลการวิจัย
ผลการวิจัยรูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีน มี 7 องค์ประกอบคือ (1) กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษา (2) กลยุทธ์ในการจัดโครงสร้างสถานศึกษา (3)ระบบที่ใช้ในการบริหารโรงเรียน (4) รูปแบบการบริหารของผู้บริหาร (5) ทักษะที่จำเป็นในการบริหาร (6) วิสัยทัศน์ร่วมของบุคลากรในสถานศึกษาและ (7) การเลือกบุคลากรร่วมปฏิบัติงานในสถานศึกษา โดยมีขั้นตอนประกอบด้วย (1) ศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร กรอบแนวคิด 7s ของ Mc Kinsey (2) สัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนที่ได้เลือกแบบเจาะจง (3) การยืนยันรูปแบบโดยการจัดประชุมสนทนากลุ่มอย่างเข้มข้น (4) นำรูปแบบที่สมบูรณ์จากการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องไปทดลองปฏิบัติการบริหารกับโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีน และ (5) นำรูปแบบที่ได้จากการทดลองในขั้นที่ 4 ปรับปรุงและเขียนรายงาน โดยพบว่ารูปแบบ มีความเหมาะสม มีประโยชน์ มีความเป็นไปได้ มีความสมบูรณ์ถูกต้อง และจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนให้มีคุณภาพได้
Downloads
Article Details
References
Chinese Studies Center, Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University. (2008). “Chinese Language Teaching in Thailand at the Primary and Secondary Education Levels”. 1st edition. Bangkok: Sri boon computer Printing.
Chinese Studies Center, Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University. (2008). Education Standard and Quality Assessment of Basic education. 4th edition. Bangkok: Jud Thong Printing Limited.
Chinese Studies Center, Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University. (2008). Memorandum of Teaching Chinese Language in Thailand. 1st edition. Bangkok: Sri som boon computer printing.
Chinese Studies Center, Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University. (2008). National Education Act B.E.2542 (1999) and Amendments (Second National Education Act B.E.2545 (2002)). Bangkok: Prik Wan Graphic Co.ltd.
Chinese Studies Center, Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University. (2002). National Education Plan. (2002-2006): Conclusion edition. Bangkok: Prik Wan Graphic Co.ltd.
Chinese Studies Center, Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University. (2008). Outside System Education Learning Chinese Language in Thailand. [Online]. – Retrieved 20 February 2011, from http://www.thaiworld.org/ th/include/answer_search.php?question_id=838 (in Thai)
Masuntisuk, Ronnaphol. (2008). Chinese Language Teaching in Thailand at the Primary and Secondary Education Levels. [Online]. –Retrieved 21 July 2009 from http:// www.csc.ias.chula.ac.th.
Office of the Permanent Secretary Ministry of Education. (2011). Government Action Plan for Fiscal Year 2011 Department of Policy and Strategy. Bangkok.
Office of the Permanent Secretary Ministry of Education. (2011). Strategies to promote the participation of the private sector in the provision of basic education. (Copy Document).
Office of the Permanent Secretary Ministry of Education. (2011). The Direction of Development in the Education in The National Economic and Social Development Plan The Tenth Plan (2007-2011) Consistent with the National
Education Plan. (2002-2006).1st edition. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.
Sangthongkam, Wirut. (2000). McKinsey & Company. [Online]. - Retrieved 20 July 2011, from http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=614 (in Thai)
Special Policy School Unit, Office of the Private Education Commission. (1991) Cabinet documents, The Policy of Teaching Foreign Languages and Teaching Chinese to Comply with Current Conditions.
Special Policy School Unit, Office of the Private Education Commission. (2009). Private Schools Act 2008. Bangkok: Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel Printing House.
Special Policy School Unit, Office of the Private Education Commission. (2009). The importance of learning Chinese Language in Thailand. - Retrieved 15 September 2009, from http://www.bloggang.com/ (in Thai) Spencer, B.A. (1994). Models of Organization and Total Quality Management Review. 19 (3): 446-471