การเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการตั้งคำถามกับเทคนิคแบบ CO OP CO OP

Main Article Content

จิรภา มะละกา
ศิริดา บุรชาติ
พิจิตรา ธงพานิช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการตั้งคำถามกับเทคนิคแบบ CO–OP CO-OP ตามเกณฑ์ 70/70 2)เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษด้วยเทคนิคการตั้งคำถามกับเทคนิคแบบ CO–OP CO-OP 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเทคนิคการตั้งคำถามกับเทคนิคแบบ CO–OP CO-OP 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการตั้งคำถามกับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคแบบ CO–OP CO-OP 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการตั้งคำถามกับเทคนิคแบบ CO –OP CO-OP ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 และ 1/2 โรงเรียนชุมชนเอื้องก่อนาดี ตำบลบ้านเอื้อง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 47 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการตั้งคำถาม แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคแบบ CO –OP CO-OP แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่าน และแบบวัดความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ (T – Test Dependent Sample และ T –Test Independent Sampling)


ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคการตั้งคำถามกับเทคนิคแบบ CO – OP CO - OP E1/E2 มีค่าเท่ากับ 87.89/77.66 และ 89.08 / 79.45 ตามลำดับ (2) ดัชนีประสิทธิผลการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคการตั้งคำถามกับเทคนิคแบบ CO –OP CO-OP มีค่า เท่ากับ0.7026 และ 0.7561 ตามลำดับ (3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการตั้งคำถามกับเทคนิคแบบ CO-OP CO-OP มีความสามารถด้านการอ่าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กนกพรรณ ภูกองพลอย. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจในการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้แบบ CO-OP CO-OP กับการ จัดการเรียนรู้แบบตั้งคำถาม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มนธิรา ภูมลี. (2557). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการตั้งคําถามกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยุวดี แปงสนิท. (2550). การพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจและความพึงพอใจในวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยวิธี อีทีอาร์. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

รุ้งรดา ติโนชัง. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนและความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Tense ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบ TAI กับแบบอุปนัย.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้: มหาวิทยาลัยนครพนม.