การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 21 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครู และพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 การวิจัยดำเนินการ 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ และตัวชี้วัดการทำงานเป็นทีมของของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 กลุ่มเป้าหมายตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัด ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ตามขนาดของโรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 88 คน โรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 99 คน โรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 68 คน และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน 65 คนรวมทั้งสิ้น 320 คน ระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 กลุ่มเป้าหมายซึ่งทำหน้าที่ประเมินความเหมาะสมเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความสอดคล้องของโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญ 7 คน
ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้
องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 มีองค์ประกอบจำนวน 5 ด้าน คือ 1) ด้านภาวะผู้นำที่เหมาะสมประกอบด้วยตัวชี้วัด 2.) องค์ประกอบด้านการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน 3.) องค์ประกอบด้านการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ 4.) องค์ประกอบด้านความสัมพันธ์ 5.) องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมและตัวชี้วัด 40 ตัวชี้วัด 2. การทำงานเป็นทีมของครูในสภาพปัจจุบันโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากและการวิเคราะห์การทำงานเป็นทีมของครูในสภาพที่พึงประสงค์ พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 3.1) โปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ใช้วิธีการพัฒนาครูแบบผสมผสาน คือ การศึกษาด้วยตนเอง การอบรม การศึกษาดูงาน และ การปฏิบัติจริง 3.2.) ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความมีประโยชน์และความสอดคล้อง ของโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครู พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ ความมีประโยชน์ และความสอดคล้องมาก
Downloads
Article Details
References
คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,สำนักงาน. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ฉันทนา จันทร์บรรจง. (2542). จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพฯ: บริษัทบุ๊คพ๊อยท์จำกัด ภาควิชาบริหารและพัฒนา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์ และคณะ. (2545). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
เดชา ศิลาจรุญลักษณ์. (2551). การพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มส่งเสริมการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. การค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2551). การบริหารทีมงานและการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย,
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุตรี จารุโรจน์. (2550). ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์,
ประโยชน์ คล้ายลักษณ์. (2555). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการทำ งานเป็นทีมของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปาริชาติ ศรีหรา. (2557). แนวทางการสร้างทีมงานเพื่อพัฒนาองค์กร: กรณีศึกษาเฉพาะบุคลากรของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
มัลลิกา ต้นสอน. (2544). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็กซ์เบอร์เน็ท จํากัด, มัลลิกา คณานุรักษ์. (2547). จิตวิทยาการสื่อสารของมนุษย์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้น,
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2547). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์,
ยุพดี โสตถิพันธ์ และคณะ. (2549). กระบวนการความร่วมมือในการปฏิบัติงานระหว่าง บุคลากรทีมสุขภาพในการบริการผู้ป่วยผ่าตัดโรงพยาบาลทั่วไปภาคใต้. สงขลานครินทร์ เวชสาร, 24(6): 483-491; พฤศจิกายน-ธันวาคม,
รัชนีกร สมทรัพย์. (2550). การทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2547 – 2548 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม,
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2546). การบริหารการศึกษา: หลักการ ทฤษฏี หน้าที่ ประเด็น และบทวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุจน์,
สิทธิโชค วรานุสันติกุล. (2546). จิตวิทยาสังคม: ทฤษฏีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน,
สุนันทา เลาหนันท์. (2540). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพมหานคร: ดี.ดี.บุ๊คสโตร์,
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). หลักสูตรการพัฒนาครูโดยการสร้างระบบพี่เลี้ยง. เอกสารประกอบการอบรมสัมมนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1-2. แพร่: สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต1.
อมรเทพ แกล้วกสิกรรม. (2549). “การพัฒนาบุคลากร”. วารสารโรงเรียนนายเรือ. 6(1): 23-24.
Gibson, James L., Ivancevich, John M. and Donnelly, James H., Jr. (1997). Organizations, Behavior Structure Processes. International Edition. United States of America: Irwin/McGraw-Hill,
Hanushek and Rivkin. (2010). The Distribution of Teacher Quality and Implications for Policy. (2014, March 1). Retrieved from http://www.jstor.org/discover/10.2307/27805002?uid=2&uid=4&sid=21103699433723 H