การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะด้านความพอเพียงของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19

Main Article Content

อัญชลี อินเอี่ยม
ประสิทธิ์ ชุติชูเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของคุณลักษณะด้านความพอเพียงของนักเรียน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างคุณลักษณะด้านความพอเพียงของนักเรียน 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะด้านความพอเพียงของนักเรียน การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะด้านความพอเพียงของนักเรียน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างคุณลักษณะด้านความพอเพียงของนักเรียน และระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางคุณลักษณะด้านความพอเพียงของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในระยะที่ 1 คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ระยะที่ 2 ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 322 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะด้านความพอเพียง การประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้
1. การสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การเสริมสร้างคุณลักษณะด้านความพอเพียงของนักเรียนมีองค์ประกอบหลักทั้งหมด 5 องค์ประกอบหลัก และ มีตัวบ่งชี้ทั้งหมด 27 ตัวบ่งชี้ ซึ่งประกอบด้วย 1) ด้านการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ 6 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล รอบคอบ 5 ตัวบ่งชี้ 3) การดำเนินชีวิตอย่างมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี 5 ตัวบ่งชี้ 4) การประยุกต์ใช้คุณธรรมในการดำเนินชีวิต 6 ตัวบ่งชี้ 5) การประยุกต์ใช้ความรู้ที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิต 6 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของคุณลักษณะด้านความพอเพียงของนักเรียน พบว่าทั้งองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของสภาพที่พึงประสงค์คุณลักษณะด้านความพอเพียงของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3. การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะด้านความพอเพียงของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 19 ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นปรับปรุง พบว่าด้านที่ต้องการจำเป็นปรับปรุงอันดับแรก คือ ด้านการประยุกต์ใช้คุณธรรมในการดำเนินชีวิต รองลงมา คือ ด้านการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ ด้านการดำเนินชีวิตอย่างมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ด้านการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล รอบคอบ ด้านการประยุกต์ใช้ความรู้ที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิต ตามลำดับ


ผลการประเมินแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะด้านความพอเพียงของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 จากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ชัยวรงค์ เวียงพล. (2555). การพัฒนาการดำเนินงานการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาดไทรงาม อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธน เทพปิตุพงศ์. (2555). การค้นคว้าแบบอิสระ การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสังวาล. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ. (2556). พอดี พอใจ พอใช้ พอเพียง. ปฏิบัติการโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สานอักษร.

สุพล แก้วหนองแสง. (2554). การพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงโรงเรียนบ้านโนนพุทรา อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.