การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1

Main Article Content

สุนีย์ ดอกดวง
ประสิทธิ์ ชุติชูเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา และ 3) เพื่อพัฒนา แนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ระยะที่ 2 ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จำนวน 424 คน โดยใช้วิธีการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา การประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบประเมินความเหมาะสม แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับแบบประเมินความเหมาะสมของแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 มีองค์ประกอบ 4 ด้าน และตัวบ่งชี้ 16 ตัวบ่งชี้ 2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 มีสภาพปัจจุบันทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3. การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ผลการวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น พบว่าด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นอันดับแรก ได้แก่ ด้านการสะท้อนผลหลังการสังเกตการสอน รองลงมาด้านการดำเนินการนิเทศภายในแบบสอนแนะ ด้านการวางแผนการนิเทศภายในแบบสอนแนะ และด้านการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการนิเทศภายในแบบสอนแนะ ตามลำดับ ผลการประเมินแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา จากผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กันยา เจริญถ้อย. (2553). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในโดยใช้การสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สํานักงาน. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจํากัด.

ฉลาด จันทรสมบัติ. (2555). เอกสารการสอนชุดวิชา 0501752 เรื่องการศึกษาตามอัธยาศัย.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชนิดา ยินดีเขต. (2550). การพัฒนาการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน. พระนครศรีอยุธยา: สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2.

ชารี มณีศรี. (2542). การนิเทศการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บูรพาสาส์น.

ชาญชัย ไพยารมณ์. (2553). การพัฒนาการดำเนินงานวิชาการภายในโรงเรียนแม่ออนวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต1. วิทยานิพนธ์ ศ.ศ.ม.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). นิเทศการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 8. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสมา วงษา. (2545). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการประถมศึกษา จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์, 2545

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. (2557). แผนปฏิบัติการประจำ ปี 2557.: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศในช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ. 2552-2561. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุทธนู ศรีไสย์. หลักการนิเทศการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Alkrdem, M. (2011). “School-Based Instructional Supervision in Saudi Arabian Public Secondary schools,” Dissertation Abstracts International.

(99): 3836–A ; April. Grant, A.M. (2012). “Australian Coaches’ Views On Coaching Supervision: A Study With Implications For Australian Coach Education, Training And Practice,” International Journal Of Evidence Based Coaching and Mentoring. 10(2): 17-33 ; August.

Harris, Ben M. (1985). Supervisor Behavior in Education. New Jersey: Prentice-Hall.