แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตกลุ่มสตรีชุมชนบ้านท่าขอนยาง

Main Article Content

ศศิธร แก้วมั่น
คชากฤษ เหลี่ยมไธสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการและแนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของกลุ่มสตรีชุมชนบ้านท่าขอนยาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มสตรีชุมชนบ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 300 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน และผู้นำสตรี 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของกลุ่มสตรีในชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก ความต้องการการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมากที่สุด และแนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตจากการสัมภาษณ์ พบว่า ควรเร่งส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในชีวิตประจำวัน ควรมีการจัดอบรมเสริมสร้างความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อการประชาสัมพันธ์ผลผลิตหรือสินค้าของชุมชนเพื่อการเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจในชุมชนโดยเฉพาะการใช้โซเชียลมีเดียต่างๆ ส่งเสริมการสร้างศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยี เพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านเทคโนโลยี และด้านอื่นๆ ร่วมกัน ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัย เพื่อให้อาจารย์ นิสิตตลอดจนบุคลากรได้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกันกับชุมชน และส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายด้านการทำธุรกิจในชุมชนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลซึ่งเป็นประโยชน์แก่กลุ่มสตรีต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

คณะวิทยาการสารสนเทศ. (2560). ยุทธศาสตร์ที่ 3 การให้บริการวิชาการด้านวิทยาการสารสนเทศแก่ชุมชนและสังคม. แผนกลยุทธ์คณะวิทยาการสารสนเทศ พ.ศ. 2560 – 2564. มหาวิทยลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม, 24-26.

เทศบาลตำบลท่าขอนยาง, (2559). รายงานประจำ ปีเทศบาลตำบลท่าขอนยาง ปี 2559. สำนักงานปลัดเทศบาล. มหาสารคาม, 16-19.

นันทวดี เทียนไชย. (2553). สภาพการนำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการมาบริหารจัดการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 161-170.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุรีวิทยาสาส์น, 121-123.

ยืน ภู่วรวรรณและสมชาย นาประเสริฐชัย. (2546). ไอซีทีเพื่อการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 34-38.

สรินนา อ้นบุตร. (2555). กลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านหัวฝาย ขอนแก่น สืบสานวัฒนธรรมการทอผ้าบรรพบุรุษสู่คนรุ่นใหม่. มติชนบทเทคโนโลยีชาวบ้าน 25, 537 (ต.ค. 2555), 67-68.

สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองมหาสารคาม. (2551). ผังเมืองรวมชุมชนท่าขอนยาง-ขามเรียง จังหวัดมหาสารคาม. เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการผังเมือง. กลุ่มงานวิชาการผังเมือง. มหาสารคาม, 138-142.

Enriquez, G. Amelito. (2010). Enhancing student performance using tablet computers. College Teaching, 58(1), 77-84.

Irwin, C., Ball, L., Desbrow, B., & Leveritt, M. (2012). Students’ perceptions of using facebook as an interactive learning resource at university. Australasian Journal of Educational Technology, 28(7), 1221-1232.

Jou, M. & Lin, Y. C. (2012). A web application supported learning environment for enhancing classroom teaching and learning experiences. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 64,1-11.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities, 607-610.

Punya, M., Chris, F., & Danah, H. (2013). Creativity, self-directed learning and the architecture of technology rich environments. TechTrends: Linking Research & Practice to Improve Learning. 57(1), 10-13.

Sitzmann, T., Bell, S. B., Kraiger, K., & Kanar, M. A. (2009). A multilevel analysis of the effect of prompting self-regulation in technology-delivered instruction. Personnel psychology, (62), 697-734.

Yang, S.-H. (2009). Using blogs to enhance critical reflection and community of practice. Educational Technology & Society, 12(2), 11-21.