แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการจัดการเรียนรู้ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 และ 3) พัฒนาแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร และครู โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จำนวน 251 คน จาก 30 โรงเรียน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการจัดการเรียนรู้ สำหรับโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 45 ตัวชี้วัด มีผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) สภาพปัจจุบันการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดในการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับ นำเสนอตามลำดับ ได้แก่ เทคนิคการแก้ปัญหา ตระหนักในความสามารถของตนเอง และการบริหารจัดการทรัพยากร สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับ นำเสนอตามลำดับ ได้แก่ ตระหนักในความสามารถของตน การสร้างบรรยากาศในการทำงาน และการบริหารจัดการทรัพยากร 3) แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 46 แนวทาง ผลการประเมินความเหมาะสมของแนวทางพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับ นำเสนอตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การสร้างบรรยากาศในการทำงาน การบริหารจัดการทรัพยากร และตระหนักถึงคุณค่าและความหมายของงาน ความเป็นไปได้โดยรวมมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับ นำเสนอตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ตระหนักในความสามารถของตน ตระหนักถึงคุณค่าและความหมายของงาน และเทคนิคการแก้ปัญหา
Downloads
Article Details
References
จุไรรัตน์ เหมะธุลิน. (2554). การพัฒนาโมเดลตัวบ่งชี้การเสริมสร้างพลังอำนาจระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ฐิตารี ภูขามคม. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การเสริมสร้างพลังอำนาจและบรรยากาศในองค์การกับการดำเนินงานโรงเรียนเอกชน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์. วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 6(2), 47-62.
ฐิติมา ไชยมหา. (2557). ภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 6(2), 142-151.
ประวิต เอราวรรณ์. (2548). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในโรงเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, กรุงเทพฯ.
ประวิต เอราวรรณ์. (2539). การเสริมสร้างพลังอำนาจครู: การวิจัยแบบสนทนากลุ่ม. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
พรฐิตา ฤทธิ์รอด และคณะ. (2556). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเสริมพลังอำนาจ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(1), 60-65.
มารยาท โยทองยศ และปราณี สวัสดิสรรพ์. (2551). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการสถาบันส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม.
มิ่งขวัญ คงเจริญ และอาชัญญา รัตนอุบล. (2554). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล สมไชย. (2555). การปฏิรูปการศึกษาพัฒนาบุคลากรครู. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. (2557). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. ขอนแก่น: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3.
Jackson, C. and Crossland, A. (2000). The Relationships Between Teacher Empowerment, Teacher Sense of Responsibility for Student Outcomes, and Student Achievement. Dissertation Abstracts International, 61(5), 1692-A.
Marc, A. Z. and others. (2009). Further Explorations in Empowerment Theory: An Empirical Analysis of Psychological Empowerment. American Journal of Community Psychology, 20(6), 2719–2729.
Moseley, R. C. (2002). Efficiency and Effectiveness Factors of Small Schools in Missouri. Dissertation Abstracts International, 46, 3244-A.