การศึกษาการนิเทศแบบสอนแนะในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4

Main Article Content

ทิพากร กิ่งมิ่งแฮ
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการนิเทศแบบสอนแนะสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศแบบสอนแนะในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 จำนวน 375 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินองค์ประกอบและองค์ประกอบย่อยของการนิเทศแบบสอนแนะ และแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศแบบสอนแนะในสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.330 ถึง 0.904 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.989 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. องค์ประกอบและองค์ประกอบย่อยของการนิเทศแบบสอนแนะ มี 3 องค์ประกอบหลัก 10 องค์ประกอบย่อย คือ องค์ประกอบที่ 1 การเตรียมการก่อนการนิเทศแบบสอนแนะ มี 5 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) การสร้างองค์ความรู้ 2) การสร้างทีมงาน 3) การมีองค์ประกอบของทีมงานคุณภาพ 4) การจัดทำข้อมูลและสารสนเทศของสถานศึกษา 5) การวางแผนและเครื่องมือการนิเทศ องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินการนิเทศแบบสอนแนะ มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) การศึกษาต้นทุนเดิม 2) การให้ผู้รับการนิเทศประเมินการทำงานของตนเอง และ 3) การต่อยอดประสบการณ์ และองค์ประกอบที่ 3 การสรุปผลการนิเทศแบบสอนแนะ มี 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) การสรุปผลการนิเทศแบบสอนแนะ และ 2) การวางแผนการนิเทศแบบสอนแนะครั้งต่อไป 2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศแบบสอนแนะในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 พบว่า สภาพปัจจุบันของการนิเทศแบบสอนแนะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศแบบสอนแนะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2543). แนวทางการนิเทศช่วยสถานศึกษาปฏิรูปการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

แจ่มนภา ล้ำจุมจัง และมะลิวัลย์ น้อยบัวทิพย์. (2559). “แนวทางการดำเนินงานนิเทศภายในแบบชี้แนะสำหรับสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24,” วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสารคาม. 35(3): 51-60 ; พ.ค. – มิ.ย..

ชญากาญจธ์ ศรีเนตร. (2557). รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชารี มณีศรี. (2550). การนิเทศการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

เชาวนีย์ สายสุดใจ. (2557). ชุดนิเทศการดำเนินงานโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้ก้าวสู่ศตวรรษที่ 21. ราชบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

รัตนา ดวงแก้ว และคณะ. (2555). “การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการนิเทศการเรียนการสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน,” วารสารศึกษาศาสตร์มสธ. 5(2): 95-107 ; กรกฎาคม –ธันวาคม.

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. (2550). Teacher Watch. นครปฐม: สถาบันพัฒนา ครู คณาจารย์ และบุคลากร ทางการศึกษา.

สุทธนู ศรีไสย์. (2549). หลักการนิเทศการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: คณะครุศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี.คอมมินิวเคชั่น.

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). การเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน: การนิเทศแบบให้คำชี้แนะ (Coaching). กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

อเนก ส่งแสง. (2540). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.

Best and Kahn James V. (1993). Research in Education. 7th ed. Boston: Allyn and Bacon.

Carroll, M. and Gilbert, C.. (2011). On Being a Supervisee. 2nd ed. Kew, Victoria: PsychOz Publications.

Diaz-Maggioli, G. (2004). Teacher-centered professional development. Alexandria. VA: ASCD.

Joyce, B., & Showers, B. (2002). Designing Training and Peer Coaching: Our Needs for Learning. United States of America: ASCD.

Hawkins, P. and Smith, N. (2006). Coaching, mentoring and organizational consultancy: supervision and development. Maidenhead: Open University Press.