การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 2 ระยะ คือระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาของการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 325 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 - 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏเป็นดังนี้
1. สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. สภาพปัญหาของการมีส่วนร่วมของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 มีปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3. แนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 สรุปได้ดังนี้ 3.1 ด้านการบริหารงานวิชาการ มีแนวทาง 4 ข้อ ได้แก่ 1) ให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะในการจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น 2) กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตร 3) ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางานวิชาการ 4) สนับสนุน ช่วยเหลือ จัดหาวิทยากร สื่อและนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน 3.2 ด้านการบริหารงานงบประมาณ มีแนวทาง 5 ข้อ ได้แก่ 1) ให้ข้อเสนอแนะในการตั้งงบประมาณและการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา 2) การให้ความเห็นชอบในการจัดทำแผนงบประมาณของสถานศึกษา 3) จัดหางบประมาณเพื่อพัฒนาสถานศึกษา 4) แต่งตั้งคณะทำงานในการวางแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณของสถานศึกษา 5) ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของสถานศึกษา
3.3 ด้านการบริหารงานบุคคล มีแนวทาง 3 ข้อ ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของบุคลากรในสถานศึกษา 3) พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในการดำเนินงานของสถานศึกษา
3.4 ด้านการบริหารงานทั่วไป มีแนวทาง 4 ข้อ ได้แก่ 1) เสนอแนะข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาการระดมทรัพยากรทางการศึกษา 2) การมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่ส่งเสริมการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 3) ประชาสัมพันธ์และประสานงานการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง 4) ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการสืบสานจารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติอย่างต่อเนื่อง
4. ผลการประเมินแนวทางการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 พบว่า มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ขวัญเรือน ชนะสัตรู. (2549). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในโครงการ หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน ในจังหวัดชลบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา.
จิราพร ธรรมเจริญ. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองในการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ประพนธ์ กระแสร์พันธ์. (2554). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษาเขตคุณภาพกบินทร์ 7 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิชนาถ เพชรน่าชม. (2555). การศึกษาปัญหาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
มะลิกามาศ เสงี่ยมแก้ว. (2550). การนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ค.ม. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550. (2550). กรุงเทพฯ: ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124 (ตอนที่ 47 ก) 24 สิงหาคม 2550.
รัตติยา จันทร์เศรษฐ. (2553). รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วัลย์วิภา กร่างกลาง. (2556). ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อแนวทางการพัฒนาบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครสำนักงานเขตลาดกระบัง. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Abdel, H. Engineering S. M. (1973). Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice – Hall.
Foster, S.E. (1993). “Type of Parent Involvement: Effects on Parent Rating of School,” Dissertation Abstracts International. 57(10), (1993): 4204.
Marie, H.a. (1998). School-community Relationships: A Namibian Case Study. Cannadian: Allbertra Universisty.
Pallozzi, D.P. (1981). “A madel for Community Participation in Local School District Decision Making,” Dissertation: Abstracts International. 42(4), (1981): 1481.
Putti Schuler, R.S., and Vandra, H.L. (1987). Personal and Human ResourceManagement. New York: West Publishing.
Putti, J.M. (1987). Management a function Approach. Singapore: McGraw – Hill.