โปรแกรมพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2

Main Article Content

ณัฐพงศ์ แก่นสา
สุรชา อมรพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ และตัวชี้วัดการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 3) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 4) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาจากแบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัด ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 326 คน จากแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ระยะที่ 3 ศึกษาวิธีการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษา จากแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิธีการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแล้วสังเคราะห์และสรุปเป็นวิธีพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ระยะที่ 4 โปรแกรมการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากแบบประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ของโปรแกรมพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยจำแนกข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 24 ตัวชี้วัด ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ด้านความรู้ มี 5 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 ด้านการสอน มี 5 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 ด้านสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ มี 5 ตัวชี้วัดองค์ประกอบที่ 4 ด้านความรู้และทักษะขั้นสูง มี 5 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบที่ 5 ด้านการวิจัย มี 4 ตัวชี้วัด 2. สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการวิจัย ด้านความรู้และทักษะขั้นสูง ด้านสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ ด้านความรู้ และ ด้านการสอน ตามลำดับ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านการวิจัย ด้านสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ ด้านความรู้และทักษะขั้นสูง ด้านการสอนและด้านความรู้ ตามลำดับ 3. วิธีการพัฒนาครูด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พบว่า วิธีการเสริมสร้างที่เหมาะสมมากที่สุด ประกอบด้วย 5 วิธีการ ได้แก่ 1) การเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) การฝึกอบรม 3) การสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยง 4) การเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน และ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4. โปรแกรมพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 4.1 โปรแกรมพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ประกอบด้วย 1) บทนำ 2) หลักการและเหตุผล 3) ความมุ่งหมาย 4) ผู้เข้ารับการพัฒนา 5) ระยะเวลา 6) โครงสร้าง ขอบข่ายเนื้อหาประกอบด้วย 5 โมดูล ได้แก่ โมดูล 1 ด้านความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โมดูล 2 การสอน โมดูล 3 สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ โมดูล 4 ความรู้และทักษะขั้นสูง โมดูล 5 การวิจัย 7) วิธีการพัฒนา 8) สื่อ และ 9) การวัดและการประเมิน 4.2 การประเมินโปรแกรมพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและมาตรฐาน การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

จันทวรรณ ปิยะวัฒน์. (2555). ปัญหาเทคโนโลยีทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ: 30 พฤษภาคม 2560, จาก http://www.gotoknow.org/posts/510530

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

ปราณี ชาญเชาว์. (2552). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานเทคโนโลยีการศึกษาของถานศึกษาขนาดเล็ก กรณีศึกษาโรงเรียนวัดทำ ใหม่โรงเรียนวัดศรีภวังค์และโรงเรียนวัดลาดระโหง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

อนันต์ ศรีอำไพ. (2550). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2550.

เอียน สมิธ,อนงค์ วิเศษสุวรรณ์. (2550). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 18(2), 1-10.

วรดานันท์ เหมนิธิ. (2551). แนวโน้มการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ระดับอุดมศึกษาของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สุวัฒน์ ธรรมสุนทร. (2555). บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการจัดการศึกษาของไทย. ค้นข้อมูล 5 พฤษภาคม 2560, จาก http://mediathailand.blogspot.com/2012/06/ blogpost_4877.html

AECT. (2012). Association for Educational Communications and Technology. [Online]. http://aect.site-ym.com/. November 31. 2016.

Betz, Muhammad. (1997). Educational technology needs and wants in Rural OklahomaSchools. (Online), November31, 2014.

Barr, M. J., & Keating L. A. (1990). Introduction Elements of program development, Developing effective student services program. San Francisco: Jossey-Bass.

Spark, L.H., & Drago-Severson. (1997). Professional Development in Science Teacher Education. School Science and Mathematics, 97(7), 325-334.

Rothwell, W.J. & Cookson, P.S. (1997). Beyond instruction: Comprehensive program planning for business and education. San Francisco, CA: Jossey-Bass Publishers.