การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการใฝ่หาความรู้ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

Main Article Content

กัญญาภัทร พรมโสภา
ประภัสสร บุษหมั่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการใฝ่หาความรู้ของนักเรียนในโรงเรียน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การส่งเสริมพฤติกรรมการใฝ่หาความรู้ของนักเรียนในโรงเรียน และ 3) พัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการใฝ่หาความรู้ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การส่งเสริมพฤติกรรมการใฝ่หาความรู้ของนักเรียนในโรงเรียน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การส่งเสริมพฤติกรรมการใฝ่หาความรู้ของนักเรียนในโรงเรียน ระยะที่ 3 พัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการใฝ่หาความรู้ของนักเรียนในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำ นวน 5 คน ระยะที่ 2 คือ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอน จำนวน 328 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการใฝ่หาความรู้ของนักเรียนในโรงเรียน จากโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 3 โรงเรียน ระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการใฝ่หาความรู้ของนักเรียนในโรงเรียน ประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้
1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การส่งเสริมพฤติกรรมการใฝ่หาความรู้ของนักเรียนในโรงเรียน มีองค์ประกอบจำนวน 5 ด้าน และตัวบ่งชี้จำนวน 23 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ด้านแรงจูงใจในการเรียน 4 ตัวบ่งชี้ด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง 4 ตัวบ่งชี้ ด้านการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 5 ตัวบ่งชี้ ด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน 7 ตัวบ่งชี้ และ ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ 3 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ พบว่าทั้งองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการส่งเสริมพฤติกรรมการใฝ่หาความรู้ของนักเรียนในโรงเรียน พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับมาก 4 ด้าน คือ ด้านแรงจูงใจในการเรียน ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ ด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในโรงเรียนด้านการเห็นคุณค่าในตัวเอง และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง 1 ด้านคือ ด้านการแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง ตามลำดับ 3. แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการใฝ่หาความรู้ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ผลการวิเคราะห์ค่า PNI ลำดับแรก คือ ด้านการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รองลงมา คือ ด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง ด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ และด้านแรงจูงใจในการเรียน ตามลำดับ


ผลการประเมินแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการใฝ่หาความรู้ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กิตติศักดิ์ นาคฤทธิ์. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2542). ทำอย่างไรลูกจึงใฝ่รู้ ใฝ่เรียน. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.,

เกวรี แลใจ. (2556). การวิเคราะห์พหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชนเผ่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงรายเขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย,

ครองทรัพย์ อุตนาม. (2553). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2546). หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.

ทิศนา แขมมณี. (2546). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม: จากทฤษฎีสู่การปฎิบัติ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เสริมสิน พรีเพลส ซิสเท็ม.

บังอร พึ่งกัน. (2552). นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนปรีชานุศาสน์ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น,

ประภาพร เหนือโท. (2557). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด

เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาราชภัฎมหาสารคาม,วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

พงษ์เทพ ปลื้มใจ. (2555). ปัจจัยบางประการที่มีความสัมพันธ์กับความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

สุวิมล ว่องวานิช. (2556). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานการปฏิรูปการศึกษา. (2553). การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานการปฏิรูปการศึกษา (สปศ) องค์กรมหาชนเฉพาะกิจ,

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านใฝ่เรียนรู้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6. ม.ป.ป. <http://Academic.obec.go.th/web/doc/d/692> 10 กุมภาพันธ์, 2558.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3.(2555). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2552 – 2558). หน้า 18.

สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). มองสถิติและตัวชี้วัดทางการศึกษา. IMD 2015 จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย. เอกสารอิเลกทรอนิกส์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มิถุนายน 2558.

อิสรีย์ สาครสูงเนิน. (2556). สภาพพฤติกรรมและข้อเสนอแนะคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎสารคาม, 3 มีนาคม, 2559.

อุษณีย์ โพธิสุข. (2543). กลยุทธ์ทางการศึกษา ผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค,

Anderson, O. Roger; et al. (2001). The Role of Ideational Networks in Laboratory Inquiry Learning and Knowledge of Evolution Among Seventh Grade Students. (Online). HW Wilson.

Catherine A. (2001). Franklin, Being there: Active imaginations and Inquiring Minds in a Minddle School Classroom (Online). Dissertation Abstracts International.