ปัจจัยคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาอุดรธานี เขต 4

Main Article Content

กาญจนา โคตรโยธา
ประพรทิพย์ คุณากรพิทักษ์
พิมพ์พร จารุจิตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 2) ศึกษาระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 4) สร้างสมการพยากรณ์คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นตัวพยากรณ์การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 จำนวน 302 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การหาคุณภาพเครื่องมือ เลือกข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ตั้งแต่.50 ขึ้นไปเป็นข้อคำถามในการสอบถาม (ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง, 2559: 95) โดยแบบสอบถามฉบับนี้มีดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.6-1.0 จำนวน 70 ข้อ แล้วนำไปทดลองใช้ (Try Out) กับครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน แล้วนำมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยการนำไปวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์อัลฟาตามวิธีของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) กำหนดความเชื่อมั่นที่ยอมรับได้ ไม่ต่ำกว่า 0.80 (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2550: 125) โดยความเชื่อมั่นของแบบสอบถามตอนที่ 2 ปัจจัยคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 เท่ากับ 0.978 ตอนที่ 3 การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน เท่ากับ 0.982 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายปัจจัย พบว่า อยู่ในระดับมากทุกปัจจัย 2. ระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 โดยใช้ปัจจัยคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นตัวแปรพยากรณ์ พบว่า ปัจจัยกล้าตัดสินใจและแก้ปัญหาได้ดี ปัจจัยสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี ปัจจัยมีความคิดสร้างสรรค์สู่การเรียนรู้ ปัจจัยความกล้าในการพูดและแรงจูงใจสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ.794 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน เท่ากับ.631 หรือมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 63.10 สร้างสมการพยากรณ์การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ดังนี้


สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ
Y = 1.063 +.681(X2) +.305(X5) +.201(X4) +.140(X1)
สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน
Z =.737X2+.376X5+.225X4+.146X1

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

เฉลิมชาติ เมฆแดง. (2558). แนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเอกชน. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. ปีที่ 15 ฉบับพิเศษ (ตุลาคม-ธันวาคม 2558), มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 171-179

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ประชาคมอาเซียน: ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21. แหล่งสืบค้น 10 กันยายน 2559. http://www.conference.edu.ksu.ac.th/file/20160809_2488101126.pdf

ณัฐิกา นครสูงเนิน. (2558). วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ปีที่ 10 ฉบับที่ 31 เดือนมกราคม-มีนาคม พุทธศักราช 2558. ขอนแก่น: เพ็ญพรินติ้ง จำกัด. 9

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

พัทยา ทวยเศษ. (2558). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ยุทธพงษ์ กิ่งวิชิต. (2555). ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2556). แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู (PLC for Teacher Professional Development). วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏสุรินทร์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 กันยายน 2556 หน้า 34-46

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2556). ประเทศไทย (การศึกษา). ค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2556 จาก http://th. wilipedia. org/wiki/

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยสิสุทธิ์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). ผลการประเมินสถานศึกษาเพื่อคุณภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2559 จาก, www. Manager.co.th

Alfredo (n.d.). (2013). Teaching and learning in the 21st century classroom. Retrieved January 11. from http://www.ehow com/way_5241398_teaching-learning-21st century-classroom.html.

Nair, S. (2013). A Study on the effect of quality of work life (QWL) on Organizational citizenship behavior (OCB)–with special to college teacher is Thrissur District, Kerala. A Journal of Management. Vol. 6(1).

The Journal. (2000). A vision of education for the 21st century. Retrieved 21 January 2013 from htatp: //thejournal.com./Article/2000/01/01/FUTUREPERSPECTIVE-A-Visionof-Education-for-the-21st-Century.aspx?page=3