แนวทางของจิตตศิลปศึกษา เพื่อพัฒนาการคิดอย่างใคร่ครวญเชิงวิพากษ์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Main Article Content

อริยพร คุโรดะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแนวทางและผลการใช้แนวทางของจิตตศิลปศึกษาในการพัฒนาการคิดอย่างใคร่ครวญเชิงวิพากษ์ ของนักศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนและใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ มีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาปริญญาตรี สาขาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2566 เพศชาย 9 คน เพศหญิง 21 คน รวมทั้งสิ้น 31 คน มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางจิตตศิลปศึกษา เพื่อพัฒนาการคิดอย่างใคร่ครวญเชิงวิพากษ์ของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการดำเนินการจัดการเรียนรู้ ทั้งหมด 6 ครั้ง      ครั้งละ 3 ชั่วโมง 2) แบบบันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางจิตตศิลปศึกษา 3) แบบบันทึกการคิด       อย่างใคร่ครวญเชิงวิพากษ์ จากการเรียนรู้ตามแนวทางจิตตศิลปศึกษา และ 4) แบบประเมินการจัดการเรียนรู้    จากนักศึกษา


ผลการวิจัย พบว่า


1. ผลการพัฒนาการคิดอย่างใคร่ครวญเชิงวิพากษ์ของนักศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้แนวทางของจิตตศิลปศึกษา พบว่า


1.1 แนวทางการจัดการเรียนรู้ของจิตตศิลปศึกษานั้น เริ่มจากผู้วิจัยให้ความรู้แก่นักศึกษาทั้งความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ แนวคิดจิตตปัญญาศึกษา และการคิดเชิงวิพากษ์เชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติจริง แล้วจึงเริ่มต้นสู่การพัฒนานักศึกษาตามแนวทางของจิตตศิลปศึกษา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเริ่มต้นการเรียนรู้ โดยการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้นักศึกษา วิเคราะห์นักศึกษา 2) ขั้นดำเนินการจัดการเรียนรู้ มีการจัดกิจกรรมทั้งกลุ่ม และรายบุคคล เพื่อเชื่อมโยงการเรียนรู้ผ่านการสร้างผลงานศิลปะด้วยการวาดภาพ เรื่องเล่า เหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตของนักศึกษากับเนื้อหาทางวิชาการ และ 3) ขั้นสรุปการเรียนรู้และสะท้อนผลการเรียนรู้ นักศึกษานำเสนอผลงาน โดยใช้การนำเสนอแนวคิดของผลงาน การวิเคราะห์ ตีความผลงาน โดยใช้กระบวนการคิดแบบวิภาษวิธี


1.2 ผลการคิดใคร่ครวญเชิงวิพากษ์ของนักศึกษาหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางจิตตศิลปศึกษา พบว่า นักศึกษามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ จากครั้งที่ 1-6 ด้วยการมีสติรับรู้ตนเอง  มีช่วงเวลาการทบทวนตนเองจาก เรื่องราว เหตุการณ์ และความทรงจำในอดีตที่ส่งผลถึงปัจจุบันอย่างมีเหตุมีผล จนค่อย ๆ เกิดความเข้าใจตนเอง โดยมีผู้วิจัยแนะนำช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด และฝึกฝนผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ส่งผลให้นักศึกษาเห็นกระบวนการที่ใช้ในการปรับตัว ทำความเข้าใจ ยอมรับฟังความคิดเห็น ตัวตนของผู้อื่น               ที่แตกต่างหลากหลายที่นำมาสู่การปรับตัวเข้าหากัน และร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานในบรรยากาศที่ทุกคนเกื้อกูลกัน วางแผน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบแก่กัน และยอมรับฟังความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย มีการใช้ปัญญาทั้งสามฐานอย่างสมดุล และการคิด   เชิงวิพากษ์ได้เป็นอย่างดี


2. ผลการใช้แนวทางของจิตตศิลปศึกษา ในการพัฒนาการคิดอย่างใคร่ครวญเชิงวิพากษ์ของนักศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า


                    2.1 จุดเด่น กิจกรรมที่ได้ทำร่วมกันมีความน่าสนใจและสนุก มีช่วงเวลาอยู่กับตนเอง ฝึกคิด                เชิงเหตุผล เพื่อค้นหาคำตอบให้ได้เกิดความเข้าใจตนเอง เป็นสิ่งแปลกใหม่ที่ได้เห็นภาพสะท้อนตัวตนของตนเองได้ชัดเจนมากขึ้น มีการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ในอดีต ภายใต้การทำงานของปัญญาสามฐาน ทำให้เกิดความเข้าใจในงานศิลปะ เห็นคุณค่าและความรักที่มาจากการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าจากความงามภายในใจ สามารถนำหลักการคิดดังกล่าวที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ได้แรงบันดาลใจในการทำสิ่งต่าง ๆ อย่างมีความหมาย และมีความสุขมากขึ้น


2.2 จุดที่ควรพัฒนา ควรมีสื่อการสอนประกอบการบรรยาย ให้มีภาพประกอบมากขึ้น เพื่อให้เกิดความน่าสนใจและทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น


                            

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กิ่งฟ้า สินธุวงษ์. (2550). การสอนเพื่อพัฒนาการคิดและการเรียนรู้. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมและกระบวนการทางด้านจิตตปัญญาศึกษา. (2551). ชุดความรู้ การอบรมกระบวนการแนวจิตตปัญญาศึกษาเล่ม 1 การเจิริญสติวิปัสสนา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

นิศา ชูโต. (2545). การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แม็ทส์ปอยท์.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอส.พริ้นติ้ง ไทย แฟคตอรี่.

ประภาภัทร นิยม. (2558). คำศัพท์การศึกษาแบบองค์รวม. จาก http://img.roong-aroon.ac.th/publication/Holistic_bilingual.

ปราณี อ่อนศรี. (2557). จิตตปัญญาศึกษา : การศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(1), 7-11.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระวิทูล สนฺตจิตฺโต, จรัส ลีกา, พระมหาสำรอง สญฺญโต และ พรปาลิน ไชยโสดาล. (2563). อัตถิภาวนิยมกับปัญหาการฆ่าตัวตาย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 7(4). 113-129.

วิจารณ์ พานิช. (2557). การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วิจารณ์ พานิช. (2558). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วิทยากร เชียงกูล. (2549). การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สายธาร.

วีระยุทธ์ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 2(1), 29-49. จาก

file:///C:/Users/Admin/Downloads/241-Article%20Text-326-1-10-20150508

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมและกระบวนการแนวคิดจิตตปัญญา. (2551). ชุดความรู้การอบรมกระบวนการแนวจิตตปัญญาศึกษา เล่ม 3 จิตตศิลป์. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม.

สถาบันอาศรมศิลป์. (2561). เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: สถาบันอาศรมศิลป์.

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี และกาญจนา ภูครองนาค. (2560). การศึกษาวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อการบ่มเพาะความซื่อตรง. วารสารศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ. 18(2), 225-242. จาก https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/9863.

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี และสุปรียส์ กาญจนพิศศาล. (2018). When People Sing a Different Tune About Contemplative Education: The Introduction of Mindfulness Practices

into Faculties of Mahidol University, Thailand. PSAKU International Journal of

Interdisciplinary Research, 7(1), 42-51. From https://papers.ssrn.com/sol3/

papers.cfm?abstract_id=3226419.

สุพัตรา ชาติบัญชาชัย. (2548). กระบวนการเรียนรู้: แนวคิด ความหมาย และบทเรียนในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: พิสิษฐ์ ไทย ออฟเซต.

สุดาพร ลักษณียนาวิน. (2553). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2546). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2560). สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. แพร่: แพร่ไทยอุตสาหกรรมการพิมพ์.

สิริรัตน์ นาคิน. (2562). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13(3). 273-282.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). สภาวการณ์การจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ในบริบทประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). ข้อเสนอระบบการเรียนรู้ที่สนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040. กรุงเทพฯ: อีเลฟเล่น สตาร์ อินเตอร์เทรด.

อมรวิชช์ นาครทรรพ และคณะ. (2551). การศึกษาในวิถีชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Adams, N, M. (2021). Now i can see the moon: contemplative pedagogy informed by western influences in teaching and learning in twenty-first century america. The Wabash Center Journal on Teaching, 2(1), 61–66. From https://serials.atla.com/wabashcenter/article/download/1923/3541/13029.

Ariyabhorn Kuroda. (2014). Contemplative Education Approaches to Teaching Teacher Preparation Program. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 116(2014), (1400-1404). From https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042814004224

Banks, A. J., & Banks, A. M. (2015). Multicultural Education. (9th). New York: Wiley.

Bellanca, J. A., Fogarty, R. J., & Pete, B. M. (2012). How to Teach Thinking Skills within the Common Core: 7 key student proficiencies of the new national standards. Indiana: Solution Tree.

Berkovich-Ohana, A., Jennings, P, A., & Lavy, S. (2019). Contemplative neuroscience, self-awareness, and education. From https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30732845.

Bhandari, P. (2023). Triangulation in Research I Guide, Types, Examples. From https://www.scribbr.com/methodology/triangulation.

Forbes, D, J. (2016). Critical Integral Contemplative Education. From https://www.researchgate.net/publication/309455178_Critical_Integral_Contemplative_Education.

Kemmis, S., McTaggart, R. & Nixon, R. (2014). The action research planner doing critical participatory action research. London: Springer.

Nieto, S. (2018). Language, Culture and Teaching: Critical Perspective. (3rd). New York: Routledge.

Pizzuto, D. (2018). Contemplative Practices in Higher Education: Examining Faculty Perspectives. Doctor degree of philosophy department of education leadership, Management and Policy Seton Hall University. From https://scholarship.shu.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=3562&context=dissertations.

Raikou, N. (2019). Teacher education at the forefront: long-term study through the prism of university pedagogy and transformative learning theory. Eropean Journal of Education Studies, 6(3). 88-102. From https://oapub.org/edu/index.php/ejes/article/view/2477/5115

Stolarek, E. A. (2009). Dialectic: Promoting the Marriage of Critical Thinking and Composition Pedagogy. Journal of Teaching Writing, 25(1), 25-43. From https://journals.iupui.edu/index.php/teachingwriting/article/view/18641

Uddin, M.S. (2019). Critical Pedagogy and its Implication in the Classroom. Journal of underrepresented and minority progress. 3(2), 109-119.

Waters, L., Barsky, A., Ridd, A., & Allen, K. (2015). Contemplative education: A systematic, evidence-based review of the effect of meditation interventions in schools. Educational

Psychology Review, 27(1), 103–134. From https://doi.org/10.1007/s10648-014-9258-2

Wilson, C, N. (2021). A contemplative pedagogy: A practice of presence when the present is overwhelming. Journal of transformative learning, 8(1), from https://jotl.uco.edu/ index.php/jotl/article/view/432