บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถาน ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1

Main Article Content

สุวัจน์ ศิริบุตร
ธันยาภรณ์ นวลสิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 2) ศึกษาการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถาน ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตที่การศึกษาประถมศึกษา ยโสธร เขต 1 และ 3) สร้างสมการพยากรณ์การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยโสธรเขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1 จำนวน 309 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้านบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาเท่ากับ 0.96 และแบบสอบถามด้านการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามี 3 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด อีก 1 ด้านอยู่ในระดับมาก 2) ด้านการเป็น ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามี 4 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด อีก 1 ด้านอยู่ในระดับมาก และ 3) บรรยากาศองค์การของสถานศึกษาส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1 ประกอบไปด้วย 4 ด้าน คือ ด้านทีมเรียนรู้ร่วมกันภาวะผู้นำร่วม ด้านวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วม ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ ซึ่งเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้สมการพยากรณ์บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสังกัด


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1 โดยใช้คะแนนดิบ


Y' = 1.000 + .275X, +.157X, + .224X, +.124X,


สมการพยากรณ์บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1 โดยใช้คะแนนมาตรฐาน


Z


Y =. 3332


x3+.1922x2.2352


x4 +.183<x1

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

จุลลี่ ศรีษะโคตร. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิตบัณฑิต

วิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฉวีวรรณ เอี่ยมพญา. (2559). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีรยุทธ รุจาคม. (2561). การดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่ม 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. การ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรปริญญาการศึกษามหา บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

บุตรี ถิ่นกาญจน์ (2552). บรรยากาศองค์การที่เอื้อต่อการพัฒนาไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้การศึกษาหน่วยงานผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรรนิภา ม่วงคร้าม. (2550), มิติบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

พรอรดี ซาวคำเขตต์. (2561). สภาพการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของบุคลากรทางการศึกษากลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น เชียงรายโซนเหนือ. การศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเองเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต สาขา วิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพลับลิเคชั่นจำกัด.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (20 ธันวาคม 2561). ผู้นำสถานศึกษากับการสร้างโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561, จาก http://suthep.crru.ac.th/leader31.doc.

แสงหล้า เรืองพยัคฆ์. (25 ธันวาคม 2561). สังคมแห่งการเรียนรู้สู่ปฏิรูป. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม2561,07n http://sps.pru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=13&group_id=57&article.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1. (25 ธันวาคม 2561). สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม2561 on http://www.yst1.go.th/2020/?page_id=201.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educa-tional and Psychological Measurement, 30, 607-610

Likert, R. (1961). New pattern of management. New York: McGraw-Hill.

Likert, R. (1967). The human organization: its management and value. Tokyo: McGraw-Hill.

Papolngam, T. (2011). School culture and School climate of elementary schools in Thailand. A Thesis for the degree of doctor of philosophy KhonKaen university.