การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
UTITIVOU
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการ จัดการความรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
2) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาขอนแก่น เขต 5 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพที่พึงประสงค์การจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์หา
ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Modifed Priority Nedds Index: Mouned ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ สภาพปัจจุบันการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่า X-4.50 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ด้าน ระดับมาก 2 ด้าน โดยสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามอันดับได้ดังนี้ อันดับแรกสองด้านคือ ด้านการแสวงหาความรู้ ด้านการประยุกต์ใช้ความรู้อันดับสองด้านการกำหนด ด้านการแลกเปลี่ยน และอันดับสามด้านการสร้างความรู้ สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่า X-4.71 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 6 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย สามอันดับแรกได้ดังนี้ ด้านการกำหนดความรู้ ด้านการ จัดเก็บความรู้และ ด้านการแลกเปลี่ยนความรู้
- แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 เรียงตามความต้องการจำเป็นและความต้องการพัฒนา ดังนี้ ด้านการจัดเก็บความรู้ 13 แนวทาง ด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ 10 แนวทาง ด้านการประยุกต์ใช้ความรู้ 11 แนวทาง ด้านการกำหนดความรู้ 12 แนวทาง ด้านการสร้างความรู้ 8 แนวทาง และ ด้านการแสวงหาความรู้ 14 แนวทาง
Downloads
Article Details
References
ฉลาด จันทรสมบัติ. (2550). รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้องค์กรชุมชน.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บดินทร์ วิจารณ์. (2547). การจัดการความรู้ สู่การปฏิบัติ, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ธรรกมลพิมพ์บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
บุญอารีย์ จำเริญเนาว์. (2559). การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมาเขต 7. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหา บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พรพิมล หรรษาภิรมย์โชค. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้สำหรับหน่วยงานภาครัฐดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด. จุฬาลงกรณ์: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
วิศรุจ สารจูม. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. (2562). รายงานผลการดำเนินงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ปีงบประมาณ 2562. ขอนแก่น: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2554). หลักการ ทฤษฎีและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.