ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถาน ศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด

Main Article Content

จิราพร พละสิม
หทัย น้อยสมบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2) ศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด และ


4) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถาน ศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ.93 และ แบบสอบถามประสิทธิผลของสถานศึกษา เท่ากับ.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามี 4 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ที่เหลืออีก 1 ด้านอยู่ในระดับมาก


2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามี 2 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ที่เหลืออีก 2 ด้านอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) =961 4) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านการนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอน ด้านการ


ส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการสอน และด้านการกำหนดเป้าหมายและ พันธกิจของสถานศึกษา ซึ่งเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Unstandardized Score)


Y' = 0.906 + 0.170X, + 0.366X, + 0.151X, + 0.119X,


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized Score)


I', =0.1637xs + 0.435Zx4+ 0.1837x2 + 0.1452x1

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรรณิกา นาคคำ (2557). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

กันยารัตน์ ศรีเนตร. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐชนก ชัยศรี. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ดวงกมล ปกคามินทร์ (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถาน ศึกษาในเขตอำเภอสนามชัยเขต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา), ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธิดารัตน์ พงคนิตย์ (2560). ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับประสิทธิผลของสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสหวิทยาเขต ชลบุรี 3สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา).ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธิษตยา ภิระบัน (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. วิทยานิพนธ์ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

นพมาศ ไทยภักดี, สุขุม พรมเมืองคุณ และอุดมศิลป์ วงษ์วชิรโชติ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ ผู้นำทางวิชาการของผู้ริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. วารสารศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(12), 90-99.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปราญชลี มะโนเรือง. (2559), การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา) ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภัทรา พึ่งไพทูรย์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ศิริวรรณ คนดี. (2556). การบริหารการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนในเขต คุณภาพนาดี 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการนำจุดเน้นพัฒนาผู้เรียนสู่การปฏิบัติ.

กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2553). ภาวะผู้นำ : แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุธาสินี สังฤทธิ์ (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจความเชี่ยวชาญของผู้บริหารสถานศึกษากับปะสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏ พิบูลสงคราม.

Krung, S. (1993). Leadership Craft and the Crafting of School Leaders. Phi Delta Kappa.

Murphy, M.J. (1990). "Principal Instructional Leadership Advances in Educational

Administration". American Journal of Education, 98(3), 224-250.

Teddlie, C. & Reynolds, D. (2000). The International Handbook of SchoolEffectivenessResearch. London: Falmer.

Weber James R. (2002). General System Theory: Foundations Development Applications

New York: George Braziller. Educational Leadership Professors. New York: University of Georgia.