ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3

Main Article Content

อรุณี สุวรรณศรี
โกวัฒน์ เทศบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 2) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา อาชีวศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถาน ศึกษาที่ส่งผลประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา อาชีวศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จำนวน 347 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถาน ศึกษา เท่ากับ 0.82 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา เท่ากับ 0.75สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลงการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม การสร้างบรรยากาศองค์การแห่งการเรียนรู้นวัตกรรม และด้าน ที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การมีคุณธรรมจริยธรรม และการมีความคิดสร้างสรรค์ 2) ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาและใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการ ศึกษา การวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน และด้านที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ หลักสูตรสถาน ศึกษา และการนิเทศการศึกษา 3) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการ


บริหารงานวิชาการ ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ 4) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม (X) ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง X,) ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ (X) และด้านการมีคุณธรรมจริยธรรม (X) ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 ได้ร้อยละ 49.50 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


Y' =1.206 +345X, +200X, +089X, +.100%,


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน


I, =3917x2+2247x1+.1667x6+1567X4


คำสำคัญ:


ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ, สถานศึกษาอาชีวศึกษา


เอกชน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2544). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ทิปส์พับลิเคชั่นกระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). กระบวนการบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต.

ขวัญชนก โตนาค. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยนเรศวร ณัฐวุฒิ ศรีสนิท และโกวัฒน์ เทศบุตร. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่ง

ผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 3. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11 (1), 20-30.

นนทิพร สาน้อย. (2557). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.(การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นิกัญชลา ล้นเหลือ. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร สถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). การบริหารวิชาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหมิตรออฟเซท. เพียงเพ็ญ เพียรสันเทียะ. (2553). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอตาพระเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.(การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุ่งอรุณ เขียวพุ่มพวง. (2557). กิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของเด็ก. กรุงเทพฯ:เอส ออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์.

เวียงวิวรรธน์ ทำทูล และวัลลภา อารีรัตน์. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผล ต่อองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37 (3), 31-38องค์อร ประจันเขตต์. (2557). โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นพของพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งนวัตกรรมของอาจารย์พยาบาลในสถาบันสมทบคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 371-38 1.

อำนวย มีสมทรัพย์. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ค.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.

Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R.R. (1962). New pattern of Management. New York: McGraw-Hill.