การพัฒนากิจกรรมการเล่านิทานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับอนุบาล 3 ของโรงเรียนบ้านโคกระเหย อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ภคมน สว่างสุข
ประสงค์ สายหงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1. เพื่อพัฒนากิจกรรมเล่านิทานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับอนุบาล 3 ของโรงเรียนบ้านโคกระเหย อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับอนุบาล 3 ของโรงเรียนบ้านโคกระเหย อำเภอบ้านกรวด จังหวัด บุรีรัมย์ 3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้มี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน จำนวน 4 แผน แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ 4 ด้านของ นักเรียนระดับอนุบาลคือ ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยึดหยุ่น และความคิดละเอียดลออและแบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้นิทาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 3โรงเรียนบ้านโคกระเหย ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 9 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า


1. การพัฒนากิจกรรมเล่านิทานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับอนุบาล 3 ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านหลักสูตรการสอน การวัดและการประเมินผล และการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของเนื้อหา ความเหมาะสมของนิทาน กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งกำหนดเกณฑ์การประเมิน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (OC)มีความเห็นสอดคล้องกัน ค่า IOC มีค่ามากกว่า.8 และเมื่อนำแผนการพัฒนากิจกรรมการเล่านิทานไปใช้ในกจัดการเรียนของนักเรียน นักเรียนคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทั้ง 4 ด้านเพิ่มขึ้น มีค่านัยยะสำคัญ.05


2. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับอนุบาล 3 ของโรงเรียนบ้านโคกระเหย อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ มีคะแนนผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของนักเรียนแต่ละคนของความคิดสร้างสรรค์แต่ละด้าน 8 คน และ มีนักเรียน 1 ไม่ผ่านเกณฑ์ ค่าเฉลี่ยรวมของนักเรียนทั้ง 9 คน อยู่ที่ร้อยละ 81.84


3. นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเล่านิทาน โดยวัดจากรายการประเมิน 5รายการ คือ ความสนใจ ผลงาน ความคิดสร้างสรรค์ การมีส่วนรวมในการทำงาน และขั้นตอนการทำงาน มีการประเมิน 5 ครั้งตามแผนการเรียนรู้ ผลการประเมินนักเรียนทุกคนมีพฤติกรรมการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางในการเข้าเรียนครั้ง 1 และได้ระดับดีมากในการวัดจากการเข้าเรียนครั้งที่ 5


มีค่านัยยะสำคัญอยู่ที่.05


สรุปผลการวิจัย การพัฒนากิจกรรมการเล่านิทานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับอนุบาล 3 ของโรงเรียนบ้านโคกระเหย อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการพัฒนากิจกรรมการเรียนที่ช่วยเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน สามารถกระตุ้นการคิดทั้งการเรียนในระดับกลุ่มและรายบุคคล โดยจัดให้ผู้เรียนได้เผชิญเหตุการณ์สิ่งแวดล้อม สื่อ อุปกรณ์ ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรง จูงใจภายใน จัดให้เผชิญกิจกรรมที่เสริมสร้างการคิดยืดหยุ่นและผ่อนคลายไม่เคร่งเครียด รวมทั้งการแนะนำตัวอย่างบุคคลที่มีผลงานสร้างสรรค์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2534). ความคิดสร้างสรรค์หลักการ ทฤษฎี การเรียนการสอน การวัดผล ประเมินผล.กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545), หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กัลยา นิ่มจิตต์. (2545). การศึกษารูปแบบการเล่านิทานของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลวัดนางนองกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

กานดา ทิววัฒน์ปกรณ์. (2543). การฝึกแบบการคิด ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ.

กุลยา ตันติพลาชีวะ. (2542). การเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน 3-5 ขวบ. กรุงเทพฯ: โชติสุขการพิมพ์เกริก ยุ้นพันธ์ (2543). การเล่านิทาน พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

โกศล มีคุณ. (2549). "เกณฑ์การพัฒนาและตัวอย่างนิทานพัฒนาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม," การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2549. เรื่อง การวิจัยและพัฒนาจิตมิติใหม่ด้วยนวัตกรรมนิทานที่เพิ่มทุนมนุษย์แก่สังคมไทย. กรุงเทพฯ: สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ชัยชาญ วงศ์สามัญ. (2543). การวางแผนการสอน. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

โชติ ศรีสุวรรณ. (2546). นิทานพื้นบ้าน ภูมิปัญญาทางภาษา. กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. ม.ป.พ.: ประสานการพิมพ์.

บุญส่ง ครูศรี. (2537). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานิทานพื้นบ้าน ของนักเรียนชั้น มัธยมปีที่1 โดยการใช้บทบาทสมมุติและการใช้เพลงพื้นบ้าน. ปริญญานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์

ประคอง นิมมานเหมินทร์. (2543). นิทานพื้นบ้านศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

พรทิพย์ ซังธาดา. (2545), วรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สุวีรยาสาส์น.

พรทิพย์ วินโกมินทร์. (2545). สื่อการเรียนและของเล่นเด็กปฐมวัย. ปทุมธานี: โปรแกรมวิชาการศึกษา

ปฐมวัย สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 14.กรุงเทพฯ: ธนชัชการพิมพ์.

ไพพรรณ อินทนิน. (2534). เทคนิคการเล่านิทาน กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

รุจิร์ ภู่สาระ. (2545). การเขียนแผนการเรียนรู้, กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.

วรรณี ศิริสุนทร. (2539). การเล่านิทาน กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ ลิพ เพรส.

วรรณี ศิริสุนทร. (2532). เอกสารคำสอนวิชา บร 620 การเล่านิทาน กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2549). การทำงานเป็นทีม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วราภรณ์ รักวิจัย. (2533). การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ธนพร.

วิเชียร เกษประทุม. (2536). นิทานพื้นบ้านนครสวรรค์. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์พัฒนาศึกษา.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). พัฒนาการเรียนการสอน. เอกสารประกอบการสอนวิชา 0506703ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิไล มาศจรัส. (2539). เทคนิคการเขียน การเล่านิทานสาหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: มิติใหม่.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2535). กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2523). เอกสารประกอบการเรียนกิจกรรมสร้างสรรค์สาหรับเด็กก่อนเรียน กรุงเทพฯ:ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสาน.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2523). เอกสารประกอบการเรียนกิจกรรมสร้างสรรค์สาหรับเด็กก่อนเรียน กรุงเทพฯ:ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสาหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สมปอง นิธิสกุลกาญจน์. (2539). การพัฒนาหนังสือการ์ตูนชุดนิทานพื้นบ้านภาคใต้เพื่อใช้ประกอบการเรียนกลุ่มทักษะภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). คู่มือหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2546.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สาลี รักสุทธิ และคณะ. (2544). เทคนิควิธีการพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: พัฒนศึกษา.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2542). จริยธรรมทางวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เฟื้องฟู.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเพทฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคา และอรทัย คำมูล. (2546). 20 วิธีการจัดการเรียนรู้, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อารี พันธ์มณี. (2537). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: 14 12.

อารี พันธ์มณี. (2557). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.