รูปแบบการนิเทศที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้สำหรับครูต่างชาติระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ณปภา วาดเขียน
ต้องลักษณ์ บุญธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการนิเทศที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้สำหรับครูต่างชาติระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้บริหาร หัวหน้าวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ครูผู้สอนกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ครูต่างชาติ และครูในโรงเรียนที่เปิดทำการสอนโปรแกรม EP IEP และ Bilingual  ในระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 255 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .86 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบนำตัวแปรทั้งหมดมาเข้าสมการ         ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนิเทศแบบพัฒนาตนเอง รูปแบบการนิเทศโดยผู้บริหาร รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาอาชีพ และรูปแบบการนิเทศแบบคลินิก สามารถพยากรณ์การจัดการเรียนรู้สำหรับครูต่างชาติ ได้ร้อยละ 62.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


 


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

คมสัน พิมพ์วาปี และ จุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2563). รูปแบบการนิเทศการสอนที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของครูวิทยาศาสตร์. (วารสารครุศาสตร์ ปีที่ 48 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2563).

ชัชรีย์ บุนนาค. (2018). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยและข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปี 2564 – 2568. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”.

ธนัฏฐา วุฒิวณิชย์. (2563). รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผลต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (มกราคม - มิถุนายน 2563).

บดินทร์ เซนย์วิบูลย์.(2559). การนําเสนอแนวทางการจัดการนิเทศการสอนภาษาอังกฤษของครูต่างชาติในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็น ภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

มารุต ทรรศนากรกุล. (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูที่สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโครงการโรงเรียนประชารัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลพร ชิมชาติ. (2560). แนวทางการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษโรงเรียนประถมศึกษา สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สำนักปลัดกระทรวงกาศึกษาธิการ. (2564). ผลการทดสอบ O-NET ระดับชาติ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.

สมบัติ คชสิทธิ์. (2560). การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนยุค THAILAND 4.0. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2560.

อิทธิวดี อึ้งรัศมี. (2564). แนวทางการบูรณาการการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อใช้ในหน่วยงานและชุมชน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.

Glatthorn, A. A. (1984). Differentiated Supervision. Washington D.C.: Association for Supervision and Curriculum Development.

Stellah. (2020). Relationship between Instructional Supervision and Teacher’s Performance among Public Secondary Schools in Nandi

North Sub-country, Kenya. (East Africa Journal of Education and Social Sciences, EAJESS - September 2020, page. 90-97).