ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จังหวัดยโสธร 2) ศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดยโสธร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จังหวัดยโสธร และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดยโสธรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดยโสธร จำนวนทั้งหมด 242 คน ซึ่งได้มาโดยการเปรียบเทียบจำนวนประชากรทั้งหมดกับตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 95 คน และครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 147 คน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารเท่ากับ
0.985 และแบบสอบถามประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เท่ากับ 0.977สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดยโสธร โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดยโสธร โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะ ผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดยโสธร ทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และ 4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารด้านความสามารถนำปัจจัยต่างๆ มากำหนดกลยุทธ์ (X2) การกำหนดวิสัยทัศน์ (X5) และการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (X6) ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดยโสธรได้ร้อยละ 53.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y' = 1.886 + .293X.
6 +.145x+.114X2
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z' y=.427ZX +.200ZX,+.153ZX,
Downloads
Article Details
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (2559). มาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นประจำปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.
คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ. (2557). แนวทางการพัฒนาเด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ: สำนักกรรมาธิการ 3.
จุมพร พัฒนะมาศ. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในเขตจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา).มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ธงชัย สันติวงษ์. (2546). การบริหารสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
วรเชษฐ์ แถวนาชุม. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ, 5(3), 622-631.
วินัย ฉิมวงษ์. (2542). ภาวะผู้นำเชิงจัดการและภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). ผู้บริหารโรงเรียนสามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ.ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ:
พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดยโสธร. (2564). ระบบบุคลากร กรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564,จาก: http:///hr.dla.go.th/hr/pis/EduDlaPerson.do.
เสาวนีย์ บุญรอง. (2563), การบริหารงานตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ. พัฒนวารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี, 7(1), 191-205.
DuBrin, J.A. (2006). Leadership Research Finding: Practice and Skills (5 ed). Boston:
Houghton Mifflin.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Steers, R.M. (1977). Organizational effectiveness: A behavioral view. Santa Monica CA:
Goodyear.