ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัด สําานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย

Main Article Content

สถาพร เข็มพันธ์
ชัชจริยา ใบลี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการบริหาร 2) ศึกษาระดับการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนจำนวน 297 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่ง ชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามปัจจัยการบริหารมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง.380.890 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .979 และการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 536-939 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .990 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและวิเคราะห์ถดถอยหพุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการบริหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยการบริหารกับการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษามีความสัมพันธ์กัน 4) ปัจจัยการบริหาร ได้แก่ปัจจัยด้านกระบวนการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยด้านวัสดุอุปกรณ์ และ ปัจจัยด้านบุคคล เป็นตัวพยากรณ์การเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคายที่ดีที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีอำนาจในการพยากรณ์ได้ร้อยละ 46.50 เขียนสมการได้ดังนี้


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


8 =.868 +.339 (X) +.201 (,) +.134 (,) +.095 (X,)


สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน


2=431 (X) +.247 (X) +.171 (X) +.090 (X)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรม: แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2548). การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ธีระ รุญเจริญ. (2557). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอก รอบ 3. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2554). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารวิชาการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

ปานชนก ด้วงอุดม. (2562: 22), การศึกษาสภาพการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วริศรา อรุณกิตติพร. (2561). ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัฒนชัย ศิริญาณ วิทยา เจริญศิริ และสัญญา เคณาภูมิ. (2561). รูปแบบที่ส่งเสริมให้เกิดองค์กรแห่งนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(1), 111-124.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้

ศศิประภา ชัยประสิทธิ์. (2553). องค์กรแห่งนวัตกรรม ทางเลือกของผู้ประกอบการยุคใหม่. วารสารนักบริหาร, 30(2), 60-63.

สมาน อัศวภูมิ. (2551). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่: แนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4.

อุบลราชธานี: อุบลกิจ ออฟเซทการพิมพ์

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2553). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2560). WAY TO KNOWLEDGE 4.0. นิตยสารพัฒนาความรู้และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ผ่านกระบวนการเรียนรู้สาธารณะ.เดอะ โนวเลจ, 1(3), 1-28.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). (ร่าง) กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2574. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 117-128.

องค์อร ประจันเขตต์. (2557). องค์กรแหงนวัตกรรมการศึกษาทางเลือกใหม่ของการบริหารการศึกษา.วารสารพยาบาลทหารบก, 5(1), 5-5 1.อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2560). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

McKeown, M. (2008). The truth about innovation. London. Prentice Hall.

Siengthai, S. & Bechter, C. (2001). Strategic human resource management

and firm innovation. Research and Practice in Human ResourceManagement, 9(1), 35-57.