การพัฒนาการบริหารงานวิจัยของสำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทการบริหารงานวิจัยของสำนักศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาการบริหารงานวิจัยของสำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 3) เพื่อศึกษาผลของกระบวนการบริหารงานวิจัยของสำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Practical Action Research) จำแนกออกเป็น ขั้นที่ 1: ขั้นวางแผน (Planning) ขั้นที่ 2: ขั้นปฏิบัติการ (Action) ขั้นที่ 3: ขั้นสังเกตุการณ์ (Observe) ขั้นที่ 4: สะท้อนผล (Reflect) ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทการบริหารงานวิจัยของสำนักศึกษาทั่วไป ภายใต้การดำเนินงาน ตามแผนยุทธศาสตร์สำนักศึกษาทั่วไป ในปีงบประมาณ 2564 ได้กำหนดกรอบประเด็นการวิจัยแบบมุ่งเป้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยของบุคลากร จำนวน 5 โครงการ ระยะเวลาการวิจัย ระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2564-30 กันยายน 2564 2) จากการศึกษากระบวนการพัฒนาการบริหารงานวิจัยของสำนักศึกษาทั่วไปผ่านรูปแบบของกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำให้ผู้รับทุนอุดหนุนการวิจัยได้ทราบหลักเกณฑ์ ระเบียบ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามสัญญารับทุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณสนักศึกษาทั่วไป และแนวทางการพัฒนางานวิจัย สะท้อนปัญหา อุปสรรค และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานวิจัย3) ผลของกระบวนการบริหารงานวิจัยของสำนักศึกษาทั่วไปในครั้งนี้ พบว่า จำนวนผลงานที่อยู่ระหว่างการตีพิมพ์บทความ (Submissions Online) ในวารสารระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI2 มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลในห้วงระยะเวลาการดำเนินงานวิจัยในปีที่ผ่านมาโดยสรุป ผลของการพัฒนาการบริหารงานวิจัยของสำนักศึกษาทั่วไป ส่งผลให้หน่วยงานได้แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการวิจัยของบุคลากรสำนักศึกษาทั่วไป ในประเด็นของความพร้อมในการทำงานวิจัย และควรมีการส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือกับเครือข่ายทางวิชาการในการพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพการวิจัยให้กับบุคลากรในสำนักศึกษาทั่วไปต่อไปในอนาคต
Downloads
Article Details
References
ชนะวิทย์ อนุสุเรนทร์. (2561). การบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยวิจัยในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหงศิลปากร.
ฐิติพร จิตตวัฒนะ. (2556). สภาพการบริหารงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุศรา สาระเกษ. (2555). แนวทางการพัฒนาระบบ กลไก การบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฎ. วิทยานิพนธ์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปรัชญา เวสารัชช์ . (2546). ข้อเสนอต่อการปฏิรูประบบวิจัยในมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: ทบวงมหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช.(2546). การบริหารงานวิจัย แนวคิดจากประสบการณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วิภาพร นิธิปรีชานนท์. (2554). แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิมล มิระสิงห์. (2557). รายงานการวิจัยการพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม รายงานการวิจัย
สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ การพัฒนาสู่“ครูมืออาชีพ” สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. สมพร อิศวิลานนท์ และปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์. (2561). การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ:
แนวคิดและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. (ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2553). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2556). มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2556. กรุงเทพมหานคร.
สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2563). แผนกลยุทธ์สำนักศึกษาทั่วไป 2563. มหาสารคาม.
อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2547). ปฏิรูประบบวิจัยเคลื่อนสังคมไทยด้วยความรู้: ข้อเท็จจริงและข้อเสนอเพื่อการปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาระบบวิจัยของประเทศ.
อรุณศรี เงินเสือ. (2559). รูปแบบการบริหารงานวิจัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อาทิตยา ดวงมณี. (2555). การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารงานวิจัยโดยการเทียบเคียงสมรรถนะตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม. วิทยานิพนธ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.