การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะปฏิบัติ หน่วยชีวิตและครอบครัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ขวัญฤดี เหง้าน้อย
สุวิสาข์ จรัสกมลพงศ์
พิจิตรา ธงพานิช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และทักษะหน่วยชีวิตและครอบครัว ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พัฒนาแผนมีเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 80 (2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยชีวิตและครอบครัว ด้วยกระบวนการเรียนรู้ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาทักษะปฏิบัติหน่วยชีวิตและครอบครัว ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการวิจัยกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน โรงเรียนบ้านนาน้อย โดยได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการจัดการเรียนรู้และทักษะหน่วยชีวิตและครอบครัว ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเท่ากับ 82.31/89.67 ตามเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 80 2) การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ และทักษะปฏิบัติหน่วยชีวิตและครอบครัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ทักษะการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และทักษะปฏิบัติหน่วยชีวิตและครอบครัวสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยนักเรียนมีทักษะการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรริสา จันทร์สุวรรณ. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ ใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวสะเต็มศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 11(1):1-16.

กัญจน์วิภา ใบกุหลาบ. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี.

กองสุขศึกษา. (2561). กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ การเสริมสร้างและประเมิน ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ. (อินเตอร์เน็ต). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

จิรัชญา นวนกระโทก. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิด แก้ปัญหา เรื่องอาหารกับการดำรงชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(4) : 93-106.

ณัฐวุฒิ สวยนภานุสรณ์.(2561). การสอนแบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาสุขศึกษา เรื่อง สารเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 4(2) : 46-61.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่8). กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทา บุรีแสง.(2560). การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน โดยประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านสายปลาหลาย (คุรุราษฎร์ผดุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด.(2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิมพ์พร ภิญโญ. (2565). การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการ เปลี่ยนแปลงของสารโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน.การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประกิต หงษ์แสนยาธรรม. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสมาคมกีฬาจังหวัด. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกําลังกายและการกีฬา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). ศาสตร์การคิด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธุรกิจบัณฑิตย์.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพือพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่10. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

สรวีย์ นาคเกษม. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยบูรพา.

โสภา ช้อยชด. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและทฤษฎีประมวล สารสนเทศทางสังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา พฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 48(2) : 301-320.

อริสา สินธุ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่อง มหันตภัยยาเสพติด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. รายงานการวิจัย. กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัย ราชภัฏ สวนสุนันทา.

องค์การอนามัยโลก. (2560). แนวคิดเกี่ยวกับสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ. เข้าถึงได้จาก

https://www.stou.ac.th/schools/shs/DOCUMENTS/54126.pdf

Cindy E, Hmelo. Silver. (2018). Creating a Learning Space in Problem-based Learning. Rutgers University. Interdisciplinary Journal of Problem-Based Learning. 7(1).

Reemst, et al. (2016). Social information processing mechanisms and victimization : A literature review. Trauma, Violence, & Abuse. 17(1) : 3-25.

Malmia, et al. (2019). Problem-Based Learning As An Effort to Improve Student Learning Outcomes. International Journal of Scientific & Technology Researchvolume. 8(9).