สภาพ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถาน ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม

Main Article Content

บุญตรี แก้วอินธิ
ไพฑูรย์ พวงยอด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา (2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 319 คน ก􀄽ำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ70 และ20 ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น.93 และแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และ (2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านทักษะการมีวิสัยทัศน์และความฉลาดทางดิจิทัล 2) ด้านทักษะการเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 3) ด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรมดิจิทัล4) ด้านทักษะการมีส่วนร่วมและวัฒนธรรมดิจิทัล 5) ด้านทักษะการสื่อสารดิจิทัล และ 6) ด้านทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากร. สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2562-2565.

กุลจิรา รักษนคร และสุรภัทรศักดิ์ คำสามารถ. (2563). การศึกษากรอบแนวคิดในการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21. บทความวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,5(3), 328-344.

ทิพวรรณ ล้วนปสิทธิ์สกุล. (2562). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการศึกษาของนโยบายไทยแลนด์. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีรวัฒน์ แสงสว่าง. (2561). สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ คุรุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุง. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปราโมทย์ วังสะอาด. (2558). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านไอซีทีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน. ปรชั ญาดษุ ฎีบณั ฑติ , คอมพิวเตอร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน. (2563). ความฉลาดทางดิจิทัล. ดร.สรานนท์ อินทนนท์: ผู้เรียบเรียง, วอล์ค ออน คลาวด์: ปทุมธานี. สืบค้นจาก, www.childmedia.net, cclickthailand.com/ สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2564.

วราพร ดำจับ. (2560). การสื่อสารยุคดิจิทัล. สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 3(1), กุมภาพันธ์-พฤษภาคม. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. (2562). รายงานผลการวิเคราะห์รายงานประจำปีของสถานศึกษาในสังกัด ปีการศึกษา 2562.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. (2563). คู่มือการปฏิบัติงานกลุ่มบริหารงานบุคคลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จังหวัดนครพนม.สืบค้นจาก http://sesaonkp.org/web/vision. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2562). คู่มือทักษะด้านดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐภายใต้แนวทางพัฒนาทักษะดิจิทัลฯเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล (ปรับปรุงครั้งที่ 1 มิถุนายน 2562). นนทบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร.1013.1/ว167.คู่มือแนวทางพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563 -2564. สืบค้นข้อมูลจาก https://www.ocsc.go.th/civilservice >.

สำนักงานเลขานุการกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. (2563). แผนยุทธศาสตร์กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ.2563-2565. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ; สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนันต์ วรธิติพงศ์. (2560). อนาคตภาพดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง และพร้อมภัค บึงบัว. (2562). ระบบพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ. สุทธิปริทัศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 13(107), 213-218.

อรรถพล ประภาสโนบล. (2559). วิพากษ์วัฒนธรรมยุคดิจิตอลผ่านปรัชญาการศึกษาของ เปาโล แฟร์. วารสารปณิธาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 12(1), 78-97.

Gloria Bastos (2015: 140). Digital Literacy of School Leaders: What Impacts in Schools?. Results of Two Studies from Portugal. [Online], January 2015, Available from Conference: European Conference on Information Literacy. University, Lisbon, Portugal.