การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 323 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งหาค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม (IOC) มีค่าเท่ากับ 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกแบบสอบถามสภาพปัจจุบันตั้งแต่ระหว่าง .350 - .889 และค่าอำนาจจำแนกแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ตั้งแต่ .345 - .946 จากนั้นนำมาหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของสภาพปัจจุบันเท่ากับ .964 และสภาพที่พึงประสงค์เท่ากับ .962 ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของผู้บริหารโรงเรียนโดยการสัมภาษณ์ จากนั้นยกร่างโปรแกรมและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสื่อสารดิจิทัล และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลและลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล การพัฒนาความเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล การรู้ดิจิทัล และการสื่อสารดิจิทัล ตามลำดับ
2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาประกอบด้วย 5 Module ได้แก่ Module 1 การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล Module 2 การรู้ดิจิทัล Module 3 การสื่อสารดิจิทัล Module 4 การพัฒนาความเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล และ Module 5 การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล 4) วิธีพัฒนา 5) ผลการประเมินโปรแกรมโดยรวมมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัญญารัตน์ สุขแสน. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต]. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/download/248666/171654/903802
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6). โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท.
จิรพล สังข์โพธิ์. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารยุคดิจิทัล: องค์การไอทีและองค์การที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยาลัยนวัตกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิรวัฒณ์ รักปัญญาสุทธิกุล. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/251222/172635
ญดาภัค กัลปดี. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ของครูประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล Digital Leadership. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิกร จันภิลม, ศตพล กัลยา, ภาสกร เรืองรอง และรุจโรจน์ แก้วอุไร . (2562). เทคโนโลยีการศึกษาในยุค Thailand 4.0. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(1), 304-314, https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/186303
บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน). (2567). การพัฒนาผู้นำและทรัพยากรบุคคล. https://www.cpall.co.th/sustain/social-dimension/leadership-and-human-capital-development.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุง (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุรีวิยาสาส์น.
บุษยพรรณ สุระคาย. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2117
พิชญ์พิมล สุนทะวงศ์. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภิรมณ์ ซึมกระโทก. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/2132
วัชราภรณ์ แสงทิตย์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. https://search.tci-thailand.org/article.html?b3BlbkFydGljbGUmaWQ9NzM1MDk2
ไวยวิทย์ มูลทรัพย์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุพัตรา สุวรรณชัยรบ. (2564). โปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/250213
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 2. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. https://srn2.go.th/index/.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2563. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการวิจัยเรื่องการวิจัยและพัฒนานโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. พริกหวาน กราฟฟิค.
สุชญา โกมลวานิช. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 23 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น]. https://app.gs.kku.ac.th/images/img/support/grc2020/pdfabstracts/HMO16.pdf
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.