การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่ส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เปรียบเทียบจิตวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยครั้งนี้ เป็นการออกแบบการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-experimental Design) ตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 34 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับแผนผังความคิด แบบวัดถามจิตวิทยาศาสตร์ เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ มีดังนี้ รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น คือ กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่ส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กิจกรรมการเรียนรู้มี 5 ขั้น คือ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นสํารวจและค้นหา ขั้นอธิบายและข้อสรุป ขั้นขยายความรู้ ขั้นประเมิน ซึ่งในงานวิจัยนี้เลือกใช้แผนผังความคิดแบบใยแมงมุมทุกแผนกิจกรรมการเรียนรู้ และนำมาใช้ในขั้นสํารวจและค้นหา และขั้นอธิบายและข้อสรุป รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2) นักเรียนมีจิตวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางที่ระดับ .05
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการ. (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร์. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กลุ่มบริหารงานวิชาการโรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม. (2567). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566. โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม.
ชวลิต ชูกำแพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธีริศรา ลาสอน และนฤมล ภูสิงห์ (2565) การพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(3), 114-130. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/261616
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2561). วิจัยปฏิบัติการทางการเรียนการสอน. คลังนานาวิทยา.
ประวิต เอราวรรณ์ และวราพร เอราวรรณ์. (2564). พื้นฐานการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). ตักสิลาการพิมพ์.
ปทุมพร สระทองอินทร์, ทองปาน บุญกุศล, และสุพจน์ เกิดสุวรรณ์ (2566). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(3), 940-950, https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/256436
พรนิภา ทองแท้, อัญชลี แสงอาวุธ, และกฤษณี สงสวัสดิ์ (2566) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงาน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับผังกราฟิก เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสามแยกจำปา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1008
ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ไทยวัฒนาพานิช.
เยาวพา สีธรรม, อนันต์ ปานศุภวัชร, และกุลวดี สุวรรณไตรย์ (2563). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง หิน และการเปลี่ยนแปลงของ เปลือกโลก โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับผังกราฟิก. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 11(30), 75-83, https://jci.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID=117
วิไลลักษณ์ วิชัยรัมย์ และฐิติวรดา พลเยี่ยม (2567) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังกราฟิก เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 13(2), 47-58. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJMBU/article/view/267559
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2566). ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการสอบ O-NET ปีการศึกษา 2566. https://www.niets.or.th/th/catalog/view/2989
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์. สำนักงานส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลและประเมินผลวิทยาศาสตร์. วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.
สิริวรรณ ทรัพย์ประเสริฐ ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, และ ดวงเดือน สุวรรณจินดา (2567). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง ร่างกายมนุษย์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และสมรรถนะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทพสุวรรณชาญวิทยา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 35(2), 47-61. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/267628/181487
สุภาวดี บุษราคัม และแสงเดือน คงนาวัง (2563) การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(3), 167-174. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/248254
อาริยา ภูพันนา. (2565). ศึกษาการพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อุดม เชยกีวงค์ (2545). หลักสูตรท้องถิ่น: ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการเรียนรู้. สำนักพิมพ์บรรณกิจ.