การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานชมชนการเรียนร้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3

Main Article Content

อมตา จงมีสุข
จุลดิศ คัญทัพ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความ ต้องการจำเป็นของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3


2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ประชากรสำหรับการวิจัยในครั้งนี้คือ ผู้บริหารและข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จำนวน 3,479 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 โดยกำหนดขนาดกลุ่ม ตัวอย่างจากการใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานด้านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย


ค่าเฉลี่ย (Means) ร้อยละ (Percentile) และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNmodied ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของผู้บริหารและข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 ภาพรวม สภาพปัจจุบัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์ความ ต้องการจำเป็น พบว่า โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนา ลำดับที่ 1 ภาวะผู้นำร่วม ลำดับที่ 2 โครงสร้างสนับสนุนชุมชน ลำดับที่ 3 การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ ลำดับที่ 4 ความเป็นกัลยาณมิตร ลำดับที่ 5 ทีมร่วมแรงร่วมใจ และลำดับที่ 6 วิสัยทัศน์ร่วม 2) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานด้านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 มีทั้งหมด 6 องค์ประกอบ 18 ด้าน 36 แนวทาง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
จงมีสุข อ., & คัญทัพ จ. (2024). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานชมชนการเรียนร้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 12(1), 81–91. สืบค้น จาก https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/171
บท
Research Article

References

ชูชาติ พ่วงสมจิตตร์(2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. Veridian EJournal, Silpakorn University. ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2).

ปิยณัฐ กุสุมาลย์. (2560), แนวทางการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการ จัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับครูประถมศึกษา.ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เอกพล อยู่ภักดี และวัลลภา อารีรัตน์. (2559). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทาง วิชาชีพของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อำนาท เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2559). คุณลักษณะของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในบริบทการศึกษาไทย,Panyapiwat Journal, 8(1).

Eastwood, K., & Louis, K. (1992). Restructuring that lasts: Managingthe performance dip.Journal ofSchool Leadership, 2(2).