แนวทางพัฒนาการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

ภิญญดา ไชยพิเดช
นาวี อุดร
ชาญวิทย์ หาญรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือ(2)ประเมินความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือ (3)  พัฒนาแนวทางการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือ (4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 28 คน และครูจำนวน 211 คนรวมทั้งสิ้น 239 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 10  ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 4 ฉบับ คือ (1)แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน จำนวน 30 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60 -1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .60 - .85 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .97                  (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ จำนวน 30 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60 -1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .77 - .80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .79 (3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 10 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และ (4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ จำนวน 23 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง และใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือที่มีค่าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการพัฒนากระบวนการนิเทศ ด้านการออกแบบการนิเทศ ด้านการปฏิบัติการนิเทศ (3) แนวทางพัฒนาการนิเทศภายในด้วยเครือข่ายความร่วมมือ1)ด้านการออกแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วยเครือข่ายความร่วมมือภายใต้การทำงานร่วมกันของผู้ให้การนิเทศและผู้รับการนิเทศ 2) ด้านการปฏิบัติการนิเทศ ภายในสถานศึกษาด้วยเครือข่ายความร่วมมือ 3) ด้านการติดตามและประเมินผลของการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วยเครือข่ายความร่วมมือ 4) ด้านการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วยเครือข่ายความร่วมมือ 5) ด้านการเปิดใจรับฟังของการดำเนินการนิเทศภายในสถานศึกษาด้วยเครือข่ายความร่วมมือ(4)ผลการประเมินแนวทางพัฒนา โดยรวมพบว่าความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้อยู่ในระดับ มากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กัตติกา สกุลสวน. (2565). รูปแบบการนิเทศแนวใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ]. https://so02.tcithaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/255726

ทิพวรรณ ถาวรโชติ. (2564). รูปแบบการนิเทศด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3380

นัจรีภรณ์ ทุมสงคราม. (2556). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนสีขาวตามแนวทางศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ปิยนุช เพชรวิเศษ. (2562). แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์]. http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7942

สุชาติ แจะไธสง. (2557). การบริหารการมีส่วนร่วมของครูในการนิเทศภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2562). กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(3), 199-214.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. (2566, 6 พฤษภาคม). คู่มือแผนปฏิบัติกการ กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการศึกษา. https://www.nkpedu1.go.th/supervision-group

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563, 12 ตุลาคม). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 : กระทรวงศึกษาธิการ. https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/3.2.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ 2562. บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

อัมพร พินะสา. (2563, 1 ตุลาคม). วิสัยทัศน์ แนวทางและจุดเน้น “จะใช้พื้นที่เป็นฐานขับเคลื่อนคุณภาพ จะใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนความสำเร็จ”. https://www.kruachieve.com/.

อุทิศ จันทร์เสน. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศภายในกับประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.