ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

Main Article Content

ปรีชา แก้วบางทราย
ชาญวิทย์ หาญรินทร์
อัครวัฒน์ บุปผาทวีศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการบริหารในศตวรรษที่21ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพและขนาดสถานศึกษา(2)ศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิผลของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพและขนาดสถานศึกษา (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน และ(4)ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของทักษะการบริหารในศตวรรษที่21ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูรวมทั้งสิ้น 338 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า5ระดับ มีจำนวน2ฉบับคือ (1) แบบสอบถามทักษะการบริหารในศตวรรษที่21ของผู้บริหารสถานศึกษามีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80- 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่.43 - .86 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 และ (2) แบบสอบถามประสิทธิผลของโรงเรียนมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 80-1.00ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่53-.91ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ.98สถิติที่ใช้ได้แก่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


 ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพและขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน 2.ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน 1 คู่ โดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูสถานศึกษาขนาดใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียนสูงกว่าความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสถานศึกษาขนาดกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.ตัวแปรทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ร่วมส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน มี 4 ตัวแปร ได้แก่ ทักษะชีวิตและการทำงาน (X6) ทักษะด้านนวัตกรรม (X3) ทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล (X5) และทักษะการคิดสร้างสรรค์ (X2) โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 81 สามารถเขียนสมการ ได้ดังนี้


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


Y' = 0.26 + .35X6 + .34 X3 + .17X5 + .07X2


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน


Zy' = .37Z6 + .41Z3 + .19Z5 + .08Z2

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรรณิกา เรดมอนด์. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

จักรวาล สุขดี และวิเชียร รู้ยืนยง. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4), 114-126. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/259248

จินดา สรรประสิทธิ์. (2563). การพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดทักษะภาวะผู้นำในอนาคต. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. ใน ชัยยนต์ เพาพาน (บ.ก.), การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21. การประชุม

วิชาการระดับชาติ ครุศาสตร์ ครั้งที่ 1. (296-307). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ฐิติพิรญา โพธิ์ทอง, เสริมทรัพย์ วรปัญญา และภูวดล จุลสุคนธ์. (2565). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 12(3), 97-98. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/257383

ณรงค์ฤทธิ์ นามเหลา. (2560). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัฐกานต์ แย้มชื่น และกัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์. (2565). ทักษะผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(6), 331-348. https://doi.org/10.60027/iarj.2023.271076

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม (พิมพ์ครั้งที่ 6). ข้าวฟ่าง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2561). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษา. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 3(2), 32-43. http://ojs.mcu.ac.th/index.php/socdev/article/view/4279

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. มนตรี.

มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มัลลิยา คุณอุตส่าห์. (2564). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์. (2562). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 3). โอเพ่นเวิลด์.

วาสนา ไชยศาสตร์, พนายุทธ เชยบาล, และพงษ์นิมิต พงษ์ภิญโญ. (2562). คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหนองคาย. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10(2), 175-194. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/183964

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. (2566, 16 มีนาคม). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. https://sakonnakhon3.go.th/new/?p=27723

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2566). Digital Literacy Project. โครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ. https://www2.ocsc.go.th/DLProject/skill-dlp

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.

สุนิสา สงัดศรี, ไชยา ภาวะบุตร และบดินทร์ นารถโคษา. (2566). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสาร การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 11(43), 161-171. https://jeal.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID=1269

อิทธิพล บุตรดีศักดิ์ และพระครูปลัดจักรพล สิริธโร. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(1), 508-520. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/2712

Helvacı, M. A. and Yoruk, S. (2021). The Relationship between The School Principals' Level of 21ST Century Skills and Their Capability to Manage Change at School. European Journal of Education Studies. 8(8), 279-298. http://dx.doi.org/10.46827/ejes.v8i8.3860

OZDEMİR, S., ÇOBAN, Ö. and BOZKURT, Süheyla. (2020). Examination of the relationship between school principals’ 21st century skills and their strategic leadership according to teachers’ opinions. Pegem Eğitim ve Öğretim Dergisi, 10(2),

-426. https://www.researchgate.net/publication/340524389

Sonsaard, S. and Darbavasu, S. (2019). Administrative Skills of Modern School Administrators. International Conference on Business Sustainability and Innovation. Future Academy, 2357(1330), 522-529. https://doi.org/10.15405/epsbs.2019.08.52