การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดวงจรเดมมิ่งของโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดวงจรเดมมิ่งของโรงเรียนโสตศึกษาและ2)พัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดวงจรเดมมิ่งของโรงเรียนโสตศึกษาโดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธีแบ่งออกเป็น2ระยะคือระยะที่1การศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิขาการโดยใช้แนวคิดวงจรเดมมิ่งของโรงเรียนโสตศึกษากลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โรงเรียนโสตศึกษา จำนวน290คนโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)ตามขนาดโรงเรียนระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดวงจรเดมมิ่งของโรงเรียนโสตศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้บริหารที่โดดเด่นด้านการบริหารงานวิชาการ จำนวน3คนและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของแนวทางจำนวน5คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า5ระดับมีค่าความเชื่อมั่นของสภาพปัจจุบันเท่ากับ0.96และสภาพที่พึงประสงค์เท่ากับ0.98แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินแนวทางสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง
ผลการวิจัยพบว่า1)สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดวงจรเดมมิ่งของโรงเรียนโสตศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดวงจรเดมมิ่งเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่การนิเทศการศึกษาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาการพัฒนากระบวนการเรียนรู้การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการวัดประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียนตามลำดับ2)แนวทางการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดวงจรเดมมิ่งของโรงเรียนโสตศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษได้แก่1)วางแผนโดยผู้บริหารและคณะครูประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายการบริหารงานวิชาการ2)ปฏิบัติโดยการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติให้ชัดเจนกระตุ้นสนับสนุนให้ครูปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ และมีการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง 3) ตรวจสอบ โดยจัดให้มีเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือสูงและดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล และ 4) ปรับปรุง โดยผู้บริหารและคณะครูนำผลการวิเคราะห์มาร่วมกันพิจารณาแก้ไขจุดอ่อนและใช้เป็นสารสนเทศในการปรับเปลี่ยนแผนการปฏิบัติซึ่งผลการประเมินแนวทางมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่ งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564- 2565. โรงพิมพ์การศาสนา.
กาญจนา ภุมมา. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนโสตศึกษา กลุ่ม1 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วารสารวิชาการ สถาบันพัฒนาพระวิทยาการ, 5(3), 51-83. https://so06.tci- thaijo.org/index.php/tmd/article/view/257263
กิตติกร ธรรมกิจวัฒน์. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
คณณ สิริโชคเจริญ. (2565). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการโดยใช้วงจรคุณภาพสำหรับสถานศึกษา สังกัดเทศบาล ตำบลในจังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชนิสรา ชุมวงค์. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต7. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชไมพร ธิอ้าย. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเฉพาะความพิการสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ดวงนภา เตปา. (2562). การพัฒนาคู่มือการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านท้าวบุญเรือง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ธัญดา ยงยศยิ่ง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. พิมพ์ดีด.
พัชญ์พิชา จันทา. (2563). แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พุฒิพัฒน์ ภิญโญกุลพัฒน์. (2558). รูปแบบการบริหารวิชาการของโรงเรียนเทศบาลในจังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เพ็ญพักตร์ มิ่งวงศ์ธรรม. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภวนันท์ชัย สวัสดิ์สละ. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2556). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2556). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2565). รายงานข้อมูลสารสนเทศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Deming, E. W. (1995). Out of the Crisis. The Massachusetts Institute of Technology Center for Advance Engineering Study.
Glickman, C.D., Gordon, S.P. and Ross-Gordon, J.M. (2001). Supervision and Instructional Leadership : A Developmental Approach. Boston, Allyn and Bacon.
Hitochi. (1998). Quality Control Circles : the Relationship Between Successful Adaptation and Culture in Japan. [Unpublished doctoral dissertation] University of San Francisco.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.