แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 34 คน และข้าราชการครู จำนวน 268 คน จำนวนทั้งสิ้น 302 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามขนาดของสถานศึกษา โดยคำนวณสัดส่วนตามขนาดสถานศึกษา ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 4 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าความเชื่อมันเท่ากับ .96 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า 1)สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา เรียงตามความต้องการจำเป็นและความต้องการพัฒนา ได้ดังนี้ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม 5 แนวทาง ด้านการคิดเชิงระบบ 5 แนวทาง ด้านการเรียนรู้ 5 แนวทาง ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 5 แนวทาง ด้านเทคโนโลยี 5 แนวทาง และผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
กนกศักดิ์ ทินราช และวิภาดา ประสารทรัพย์. (2566). การจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 5. (716-724). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
เกริกเกียรติ นรินทร์ และพิมพ์พร จารุจิตร์. (2566). แนวทางการจัดการความรู้สำหรับข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(3), 47-66.
จุติพร เวฬุวรรณ, กุหลาบ ปุริสาร และกำจร ใจบุญ. (2559). การพัฒนาแนวทางความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 6(1), 41-47.
ทนง คงรอด. (2560). แนวทางการพัฒนาความเป็นองคการแหงการเรียนรูของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทรกําแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 2(4), 13-27.
นครินศร์ จับจิตต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.
วุฒินันท์ ประธาน และ ศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2564). องค์กรแห่งการเรียนรู้ : การจัดการความรู้ที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องตระหนัก. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14, 14-38. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
วีรยา สัจจะเขตต์. (2564). การพัฒนาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิรประภา พิลาโสภา. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. (2566). ข้อมูลพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. http://kkn2.esdc.go.th/
อรพิน ปัททุม, ชาญวิทย์ หาญรินทร์ และไพฑูรย์ พวงยอด. (2566). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(3), 47-66.
Fulmer, R.M. and Keys, J.B. (1998). A conversation with Peter Senge: New developments in organizational learning. Organizational Dynamics, 27(2), 33-42.
Marquardt, M. J. (1996). Building the learning organization: a systems approach to quantum improvement and global success. McGraw Hill.
Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: the art and practice of the learning organization. Century Press.Watkins and Marsick.