แนวทางการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

Main Article Content

กฤษกร บัวขาว
อำนาจ ชนะวงศ์
จิราพร วิชระโภชน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น  เขต 2 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวนทั้งสิ้น 302 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 34 คน และครูผู้สอน จำนวน 268 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปรียบเทียบตาราง Krejcie and Morgan แล้วใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ 5  ด้าน 30 ข้อ ที่มีลักษณะตอบสนองคู่ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.56 -0 .91 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล  ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index  (PNI modified) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า


1.ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ที่มีค่าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ทักษะทางด้านความคิดรวบยอด ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล และทักษะทางด้านเทคนิค


2. แนวทางการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 มีทั้งหมด 5 ด้าน 15 แนวทาง ได้แก่ 1) ทักษะทางด้านความคิดรวบยอดมี 3  แนวทาง 2) ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล มี 3 แนวทาง 3) ทักษะทางด้านเทคนิค มี 3 แนวทาง  4) ทักษะทางด้านการสอน มี 3 แนวทาง และ 5) ทักษะทางด้านมนุษย์สัมพันธ์ มี 3 แนวทาง ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

จรวยพร ธรณินทร์. (2550). ทักษะและประสบการณ์ทางวิชาชีพสำหรับนักบริหารระดับสูง, ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. 27(4), 7.

โชคชัย นาไชย. (2559). ทักษะการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธนวัฒน์ สุวรรณเหลา. (2564).ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ณัฐพงษ์ ปรีชานนทกุล. (2563). ทักษะของผู้บริหารถถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารงาน วิชาการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชกัฎรำไพพรรณี.

ปาณัสม์ ชุมภูยาละ. (2563). แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหาร สถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 10(1), 131-144.

ผ่องพรรณ พลราช. (2560), ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2560). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสาร มจร.การพัฒนาสังคม. 2(1), 20-29.

ศรัญญา น้อยพิมาย. (2562). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สมนึก ภัททิยธนี. (2565). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). ประสานการพิมพ์.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุวิมล ว่องวาณิช (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จารุวรรณ เขียวน้ำชุม. (2563). สภาพที่พึงประสงค์ของทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารงาน วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนครพนม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2563, http://www.mathayom9.go.th

อนิรุทธิ์ อมรแก้ว และสุทธิวรรณ ตันติรจนวงศ์. (2562). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. รายงานการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 9. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Drake, T. L., and Roe, W. H. (1986). The principal ship. New York: Macmillan.

Griffin, R. W. (1984). Management (5th ed.). Mifflin.

Harris, B. M. (1985). Supervisory Behavior in Education. (2nd ed). Prentice-Hall.

Hoyle,J. R., English, F. W. and Steffy, B. E.(2005). Skills for Successful 21st Century School Leaders: Standards for Peak Performers. American Association of School Administrators.

Katz, R. L. (2005). Skills of an effective administrators. Harvard Business Review, 30, 45-161.

Krejcie, R.V.and Morgan, D.W.(1970).Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

Runcharoen, T. (2010). School administration in education reform era. Thana Place.

Sergiovanni, T. J., and Moore, J. H. (1983). Schooling for tomorrow dancing reforms to Issue that count. Allyn and Bacon.

Weigel, R. (2012). Management Skills for the 21st century: Avis Gaze/ preparing school Leaders: 21st century Skills and Nation Association of secondary shool principals. [n.p.].

Yang, P. (2011). A Literature Review of the Skills Pequired by 21st Century School Administrators. Athbasca University.