แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

Main Article Content

ธนัชพร ปัสสาวะโท
อำนาจ ชนะวงศ์
จิราพร วิชระโภชน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน  แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวนทั้งสิ้น  302 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 34 คน และครูผู้สอน จำนวน 268 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปรียบเทียบตาราง Krejcie and Morgan  แล้วใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ 5 ด้าน 30 ข้อ ที่มีลักษณะตอบสนองคู่ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.54 - 0.93 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97  ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และแบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index  (PNI modified) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น


 ผลการวิจัยพบว่า


1.ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ที่มีค่าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ด้านการเป็นพลเมืองยุคดิจิทัล และด้านการสนับสนุนการบริหารจัดการ


2.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 มีทั้งหมด 5 ด้าน 15 แนวทาง ได้แก่ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัลมี มี 3 แนวทาง 2) ด้านการเป็นพลเมืองยุคดิจิทัล มี 3 แนวทาง 3) ด้านการสนับสนุนการบริหารจัดการ มี 3 แนวทาง 4) ด้านความสามารถในการสื่อสาร มี 3 แนวทาง และ 5) ด้านความเป็นมืออาชีพดิจิทัล มี 3 แนวทางผลการประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำกับคุณภาพการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กัญญารัตน์ สุขแสน. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิ

คณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. https://www.mdes.go.th/content/download-detail/2798

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. ศิริธรรมออฟเซ็ท.

จิติมา วรรณศรี. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. มหาวิทยาลัย นเรศวร.

จิรพล สังข์โพธิ์สุวรรณ, จันทิวา สารกิจ และเสาวณีย์ อยู่ดีรัมย์. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารยุคดิจิทัล: องค์การไอทีและองค์การที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิราภรณ์ ปกรณ์. (2564). รูปแบบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เฉลิมพล วงศ์พระลับ และวานิช ประเสริฐพร. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 137-150.

ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2563). HR การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล. วารสารการบริหารฅน, 11(1), 104-115.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล Digital Leadership. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปุณณิฐฐา มาเชค. (2564). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในยุค Thailand 4.0 Era. Journal of Information and Learning, 32(3), 83-91.

ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬา ขอนแก่น, 7(2), 162-175.

สมนึก ภัททิยธนี. (2565). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). ประสานการพิมพ์.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุชญา โกมลวานิช, สิทธิชัย สอนสุภี, บุญฤทธิ์เพ็ชรวิศิษฐ์ และเกื้อจิตต์ฉิมทิม. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(2), 56-64.

สุนันทา สมใจ และวิชุดา กิจธรธรรม. (2561). การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12 (1), 350-363.

สุวิมล ว่องวาณิช (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2, จาก https://kkn2.go.th/web/

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2563). กรอบแนวทางการพัฒนาทักษะ

ด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, https://otepc.go.th/th/content_page/item/2928-4-2563.html

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2565). Digital Disruption และมาตรการรับมือด้าน HR ของภาครัฐ, https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/digital_disruption-article-ocsc-feb2020.pdf

ออระญา ปะภาวะเต. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 142-158.

เอกชัย กี่สุพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era), https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-teaartedu-teaart-teaartdir

เอกรัตน์ เชื้อวังคำ. (2564). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4. การประชุมผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22. วันที่ 24 มีนาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

CASTLE. (2009). Principal Technology Leadership Assessment. http://schooltechleadership.org/wordpress/wp-content/uploads/2010/02/ptla_info_packet.pdf

Elliott, T. 2023 .Digital Leadership: A Six-Step Framework For Transformation https://1th.me/ZQPLH

ISTE Publication.(2009).Passport to Digital Citizenship. Learning and Leading with Technology Magazine, 4(36), 119-121.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607 – 610.

Tran, L. (2017). Digital Transformation: The 5 Must-Have Skills for Digital Leaders. https://www.inloox

Sheninger, E, C. (2022). Digital leadership: Changing paradigms for changing times. (2nd ed.). SAGE Publications Asia-Pacific.

Sullivan, L. (2017). 8 skills every digital leader need. https://www.cmswire.com