การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 3

Main Article Content

เอกลักษณ์ เจือมา
โกวัฒน์ เทศบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา  2) ศึกษาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพผู้เรียน และ 4) ศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 จำนวน 331 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีเทียบจำนวนประชากรทั้งหมดกับตาราง Krejcie & Morgan ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วนตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร เท่ากับ 0.94 และแบบสอบถามคุณภาพผู้เรียน เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน   อยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพผู้เรียน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 3) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพผู้เรียนในระดับสูงมาก และ 4) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ (X5) ด้านการกำหนดทิศทางขององค์กร (X2) ด้านการกำหนดกลยุทธ์ (X3) และด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (X4) ร่วมกันพยากรณ์คุณภาพผู้เรียน ร้อยละ 84.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เขียนสมการณ์พยากรณ์ได้ดังนี้


  สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


  Y´ = .390   + .350X5 + .200X2 + .227X3 + .128X4


  สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน


  Z´y = .366ZX5 + .277ZX2 + .233ZX3 + .140ZX4

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กลุ่มสารสนเทศสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน สังกัด สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3. http://data.boppobec.info/emis/school.php?AreaCODE=4503

จรัญ คิดขยัน. (2564). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มเครือข่ายโรงเรียน กรูด ป่าร่อน คลองสระ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชลธิชา ร่มโพธิ์รี. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์ Strategic Management (ฉบับปรับปรุงใหม่). ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธีรยุส วัฒนาโชค. (2552). กลยุทธ์: กลยุทธ์เพื่อการเติบโดสมัยใหม่. วารสารจุฬาลงกรณ์รีวิว, 16(63) 42.

ปรมาภรณ์ อ่อนนุ่ม. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

พรพิมล อุ่นเสียม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สาคร ศุขศรีวงศ์. (2551). การจัดการ: จากมุมมองของนักบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 4). จี พี ไซเบอร์ พริ้นท์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 . (2564). รายงานผลการดำเนินงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ประจำปีงบประมาณ 2563. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง.(2560). สรุปผลการประเมินคุณภาพ ภายนอกรอบสาม(พ.ศ.2554-2558). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Glueck, W. F.,& Jauch, L. R. (1984). Business Policy and Strategic Management. McGraw-Hill.

Katz, D. and Kahn, R. L. (1978). The Social Psychology of Organizations (2nded). John Wiley & Sons,

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607–610.