การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะการอ่าน เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดแบบฝึกทักษะการอ่าน เรื่อง มาตราตัวสะกดโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านตัวสะกดของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดแบบฝึกทักษะการอ่าน เรื่อง มาตราตัวสะกดโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อชุดแบบฝึกทักษะการอ่าน เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 จำนวน 28 คน โรงเรียนบ้านปากอูน (ปากอูนผดุงวิทย์) ได้ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ 10 แผน แบบวัดทักษะการอ่านเรื่องมาตราตัวสะกด จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนานวัตกรรมชุดฝึกทักษะการอ่านเรื่องมาตราตัวสะกดโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิเท่ากับ 80.17/81.60 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) เปรียบเทียบการวัดทักษะการอ่านของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยนวัตกรรมชุดฝึกทักษะการอ่านเรื่องมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.46 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน อยู่ในระดับดี 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อนวัตกรรมชุดฝึกทักษะการอ่านเรื่องมาตราตัวสะกด โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่ามีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมาก
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิรนันท์ กุญชะโมรินทร์. (2558). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านออกเสียงและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบเกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จุติพร เวฬุวรรณ. (2559). รายงานผลการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) ประกอบแบบฝึกทักษะอ่านเขียนเรียนภาษาราชาธิราชกลุ่มการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 6(1), 93-100.
จิราพร บุดดีอ้วน. (2564). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะเรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมการเขียนประโยคของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองบัวงาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 18(2), 237-250.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขเพิ่มเติม). สุวีริยาสาส์น.
ทวีนันท์ พันอุสาห์ ณัฐพล หงษ์ทอง และ ยุทธชัย สารขันธ์. (2566). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญร่วมกับบทเรียนผ่าน genially. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(1), 26–35.
พรวิมล เสาะใส, และทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านวิชาภาษาไทยด้วยนวัตกรรม Smart Learning เรื่องมาตราตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านขุนน้ำคับ. วารสารกลุ่มมนุษยศาสตร์–สังคมศาสตร์, 3(2), 12-26.
วัลภา สานา และประภาษ เพ็งพุ่ม. (2565). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(3), 167-179.
สมนึก ภัททิยธนี. (2565). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 13). ประสานการพิมพ์.
หกพจน์รัตณ์ เพ็งคำ และ ดุจเดือน ไชยพิชิต. (2565). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารร้อยแก่นสาร, 7(3), 88–107.
Durukan, E. (2011). Effects of Cooperative Integrated Reading and Composition Technique on Reading-Writing Skills. Education Research and Reviews. 6 (1), 102-109.
Gupta, M. and Ahuja, J. (2015). Cooperative Integrated Reading Composition Improving Achievement in English Writing Composition Among Seventh Graders. Issues and Ideas in Education. 2 (5), 37-46.