การพัฒนาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (2) ศึกษาทักษะการใช้เทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 5 (สมพรอภัยโส) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 2) แบบประเมินทักษะการใช้เทคโนโลยี 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการเรียนรู้ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานรายวิชาวิทยาศาสตร์(วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 15.23, S.D. =1.63) คิดเป็นร้อยละ 76.15 อยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการศึกษาทักษะการใช้เทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์ (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม อยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้
แบบผสมผสาน รายวิชาวิทยาศาสตร์ (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
กีรติ ทองเนตร. (2557). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เกริกเกียรติ นรินทร์ และเหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี. (2564). การพัฒนาการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยเทคนิคเรียนรู้แบบร่วมมือ TGT เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการทำงานเป็นทีม วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(12), 107-118.
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2561). ยูบิควิตัสเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้: การออกแบบที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทิมา ชุวานนท์ และธนวรรณ มั่นอ่วม. (2563). การใช้วิธีการเรียนแบบผสมผสานในรายวิชาวิธีการวิจัย สําหรับนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษธุรกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขเพิ่มเติม). สุวีริยาสาส์น.
วิไลวรรณ วงศ์จินดา. (2561). ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตนนทบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏแพงเพชร, https://research.kpru.ac.th/sac/fileconference/432018-05-04.pdf
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สมนึก ภัททิยธนี. (2565). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 13). ประสานการพิมพ์.
อิทธิณัฐ ตันติวิทิตพงศ์, รัฐพล ประดับเวทย์, นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์ และสมสรรญก์ วงษ์อยู่น้อย. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทักษะแบบผสมผสานโดยเน้นการเรียนรู้ในสถานการณ์จริงเพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานสำหรับนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 10(28), 127-142.
Bozalek, V., Gachago, D., Alexander, L., Watters, K. Wood, D. Ivala, E., & Herrington, J. (2013). The use of emerging technologies for authentic learning: A South African study in higher education. British Journal of Educational Technology. 44(4), 629-638. https://doi.org/10.1111/bjet.12046